น้ำตกแก่งโสภา อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 71-72 ถนน สายพิษณุโลก-หล่มสัก มีทางลาดยางแยกเข้าไป 2กิโลเมตร เป็นน้ำตก ขนาดใหญ่ สภาพโดยรอบร่มรื่น บริเวณน้ำตกมีลานจอดรถ ห้องสุขา และร้านขายอาหารไว้บริการด้วยครับ
น้ำตกแก่งซอง เป็นน้ำตกอยู่ริมทาง สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน อยู่ตรงกิโลเมตรที่ ๔๕ ถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก
ลำน้ำเข็ก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาจังหวัดเพชรบูรณ์ครับ ไหลผ่านมาทางทุ่งแสลงหลวง เริ่มต้นมาเป็นน้ำตกแก่งโสภาก่อน จากนั้นก็ไหลเคียงคู่กับถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านทางด้านใต้ของอำเภอนครไทย ไหลมาทางอำเภอวังทอง เรียกชื่อใหม่ว่าแม่น้ำวังทาง
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ใน จ.พิษณุโลก
ลักษณะของสายน้ำ ลำน้ำเข็กเป็นลำน้ำที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางด้าน อ.เขาค้อไหลผ่านอุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวงมาเป็นน้ำตกศรีดิษฐ์. น้ำตกแก่งโสภา ใน จ.พิษณุโลกจากนั้นไหลผ่านลำน้ำอันคดเคี้ยวกลายมาเป็นน้ำตกปอย. น้ำตกแก่งซอง และน้ำตกวังนกนางแอ่นแล้วไหลผ่าน อ.วังทอง ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแม่น้ำวังทอง จากนั้นไหลไปรวมกับแม่น้ำน่าน ที่ อ.บางกระทุ่ม ลำน้ำเข็กเป็นแม่น้ำที่ไม่ใหญ่นัก ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำจะไหลเชี่ยวกรากเป็นสีน้ำตาลเข้ม แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำจะลดความรุนแรงลงเปลี่ยนมาเป็นสีขาวสดใส ลำน้ำเข็กจะไหลคดเคี้ยวไปตามซอกเขาใหญ่น้อยตั้งแต่เทือกเขาเพชรบูรณ์ ผ่านอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เกิดเกาะแก่งมากมาย เช่น แก่งวังน้ำเย็นภายในอุทยานฯ ทางด้านหน่วยหนองแม่นาจากนั้นกระแสน้ำจะไหลเคียงคู่ขนาบไปกับทางหลวงหมายเลข 12 กระแสน้ำจะไหลผ่านเกาะแก่งมากมายท้าทายความสามารถของนักล่องแก่งมืออาชีพเป็นอย่างยิ่ง
แก่งต่างๆที่จะต้องล่องผ่าน จุดเริ่มต้นของการล่องแก่งลำน้ำเข็กจะเริ่มต้นที่ด้านหลังของ ทรัพย์ไพวัลย์แกรนด์โอเต็ลแอนด์รีสอร์ทมาได้ไม่กี่ร้อยเมตรก็จะได้พบกับความ ตื่นเต้นเร้าใจจากแก่งต่างๆดังต่อไปนี้คือ
แก่งท่าข้าม เป็นแก่งน้ำขนาดเล็ก พอให้นักล่องแก่งได้ฝึกหัดบังคับเรือยางสร้างความคุ้นเคยกับการล่องแก่งน้ำเข็ก
แก่งไทร เป็น แก่งที่มีระดับความยากง่ายในการบังคับเรือยางให้ผ่านแก่งนี้ไปได้จะต้องใช้ ทักษะในการบังคับเรือยางพอสมควรกระแสน้ำจะไหลแยกออกเป็นสองทาง
แก่งซาง ก่อนที่จะถึงแก่งซางนั้นกระแสน้ำในลำน้ำเข็กจะราบเรียบพอสมควรจนบางครั้งอาจทำให้นักล่องแก่งบางคนง่วงนอน แก่งซางจะมีลักษณะเป็นลานหินที่กว้างมาก และกระแสน้ำจะลดระดับลงมาในแต่ละช่องและกว่าจะหมดแก่งซางนั้นสายน้ำก็จะลดระดับลงมาไม่ต่ำกว่าสิบเมตรเลยทีเดียว ลำน้ำจะหักศอกเลี้ยวซ้ายในทันทีที่เรือยางล่วงมาถึงจุดนี้ นักล่องแก่งจะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของแก่งซาง ความรุนแรงของสายน้ำที่ไหลผ่านเกาะแก่งลดหลั่นลงมา เป็นชั้นๆ มีลักษณะคล้ายฟองคลื่นสีขาว กระจายไปทั่วลำน้ำแห่งนี้ทำเอานักล่องแก่งที่ง่วงนอนตาสว่างขึ้นทันใด เพราะความเร้าใจในการล่องแก่งน้ำเข็กได้เริ่มขึ้นแล้วที่แก่งซางแห่งนี้
แก่งโสภาราม เป็นแก่งคดเคี้ยวเลี้ยวไปมาคล้ายตัว S ความรุนแรงของกระแสน้ำไม่มากนัก แต่นักล่องแก่งจะต้องใช้ทักษะในการพายเรือยางค่อนข้างสูง
แก่งนางคอย อยู่ห่างจากแก่งซางระยะทางไม่ไกลกันเท่าใดนัก ลักษณะของแก่งนางคอยจะค่อยๆลดระดับกันลงมาเป็นชั้นๆ ในบางครั้งกระแสน้ำที่ไหลกระทบกับชั้นหิน ของแก่งนางคอยจะมีความสูงเกือบสองเมตรเลยทีเดียว ดังนั้นในการล่องเรือยางผ่านแก่งนางคอยนั้นนักล่องแก่งจะต้องใช้ทักษะในการพายสูง เพราะมิฉะนั้นโขดหินและเกาะแก่งต่างๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะทำให้เรือยางพลิกคว่ำลงได้ง่ายๆ
แก่งยาว จะมีความยาวของแก่งประมาณ 100 เมตรสมกับชื่อแก่งยาว กระแสน้ำจะไหลผ่านโขดหินตลอดจน เกาะแก่งที่จมอยู่ใต้น้ำมากมายในช่วงฤดูฝนในบางช่วงของแก่งกระแสน้ำอาจจะลดระดับลาดเอียงเทลงอย่างน่าใจหาย นักล่องแก่งจะต้องใช้ทักษะในการพายเรือผ่านแก่งนี้ค่อนข้างสูง
ข้อมูลการเดินทาง
โดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน จ.อยุธยา จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท ต่อไปจนถึง จ.นครสวรรค์ จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 117 ตรงเข้าสู่ จ.พิษณุโลก รวมระยะทาง 370 กม.หรือเดินทางโดยรถประจำทางปรับอากาศ โดยพิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ มีรถประจำทางปรับอากาศชั้นหนึ่ง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก วิ่งบริการวันละ 13 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.00-23.00 น.
ข้อควรปฏิบัติก่อนการเดินทาง ก่อนจะไปล่องแก่งควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยมีส่งผล กระทบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ที่จะเดินทางไปส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าต้นน้ำที่ธรรมชาติมีความเปราะบาง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องติดต่อขออนุญาตเดินทางเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เช่น การขออนุญาตต่อกรมป่าไม้ หน่วย งานที่ดูแลพื้นที่เหล่านั้นด้วย
2. การล่องแก่งเป็นกิจกรรมประเภทท่องเที่ยวธรรมชาติกึ่งการผจญภัย จำเป็นที่จะต้องใช้ความระมัด ระวังอย่างยิ่งในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยเลือกใช้บริการที่มีการจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวแล้วเรียบร้อย และตรวจสอบรายการท่องเที่ยว และข้อตกลงต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น การประกันภัย เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีการให้บริการ
3. การเตรียมตัวท่องเที่ยวทางน้ำ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น กางเกงขาสั้น และเสื้อผ้า ควรใช้ผ้าที่ แห้งง่าย รองเท้าแตะที่มีสายรัดจะดีมาก เพราะต้องเตรียมพร้อมที่จะเปียกน้ำ และขึ้นไปเดินบนฝั่ง หากมีการเดินป่าระยะทางไกล ก็จำเป็นต้องนำรองเท้าผ้าใบไปอีกคู่หนึ่ง ในช่วงฤดูหนาวควรมีเสื้อแจ๊กเกต ผ้ากันลมไว้ใส่กันหนาวช่วงที่ล่องแก่งด้วย
4. เสื้อผ้า อุปกรณ์สำหรับแค้มปิ้ง และกล้องถ่ายภาพ และของใช้ต่าง ๆ ควรใส่ถุงพลาสติค หรือถุงกันเปียก ให้เรียบร้อย การเตรียมสัมภาระต่าง ๆนำไปเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เพราะพื้นที่ขนสัมภาระจำกัด
5. ในการล่องแก่งควรศึกษาข้อปฏิบัติการพายเรือ พยายามมีส่วนร่วมในการเดินทางอย่างดี ควรปฏิบัติตัว ตามคำแนะนำของกัปตันเรือ และมัคคุเทศก์
6. หากมีการรับประทานอาหาร หรือไปประกอบอาหารในป่า ควรเลือกรายการอาหารที่สะดวกง่ายและ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องกระป๋อง ภาชนะประเภทกล่องโฟม ขวดน้ำ พลาสติคที่ใช้ครั้งเดียว เพื่อลดขยะ และมลพิษ ทุกครั้งที่เก็บแคมป์ ควรดูแลความสะอาด พยายามให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด
หลักการพายเรือล่องแก่ง ลักษณะของสายน้ำและการอ่านสายน้ำ
ความแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติ เช่น ความลึก (Volume) โดยร่องน้ำยิ่งลึกมาก กระแสน้ำก็จะยิ่งไหลแรงมากขึ้นตาม
การไหลของน้ำ (Gradient) สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้าและมีความลึกมาก ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่งน้ำ จะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำ กว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง
สำหรับความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหล แรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น และเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้ม ขวางน้ำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้
ร่องน้ำรูปตัววี (downstream V) สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิด เป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือจะต้องตัดสินใจในการ แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้
ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมาก เรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้
น้ำวน ในกรณีนี้จะต้องพายเรือออกจากศูนย์กลางของวังน้ำวนให้เร็วที่สุดและกรณีผู้ที่ตกน้ำก็เช่นกัน จะต้องพยายาม ว่ายออกจากศูนย์กลางให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าฝั่งจะอยู่ทางใด และเมื่อหลุดจากวังน้ำวนมาแล้วค่อยว่ายเข้าหาฝั่ง
คลื่น (Wave) ในกระแสน้ำที่ไหลแรงและลึก หินใต้น้ำและผิวน้ำจะทำให้เกิดคลื่นน้อยใหญ่แตกต่างกัน คลื่นนั้นอาจจะ ม้วนเป็นวงอย่างแรง ควรพยายามหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ควบคุมเรือยาก เรืออาจจะถูกกระแสน้ำม้วนทำให้พลิกคว่ำได้
น้ำนิ่งหลังแก่ง (Eddy) กระแสน้ำบริเวณหลังแก่งจะเป็นน้ำวนไหลย้อนทิศทาง ทำให้มีความแรงของน้ำน้อยลง สามารถใช้เป็นจุดพักเรือได้
น้ำม้วนหน้าแก่ง (Hydro) เกิดจากกระแสน้ำที่ตกจากที่สูง น้ำที่ตกลงมาจะม้วนตัวอยู่หน้าแก่งก่อนที่จะไหลต่อไป ซึ่ง ถ้ามีความแรงมาก ๆ ก็สามารถที่จะพลิกเรือให้คว่ำได้ และถ้ากระแสน้ำไหลตกจากที่สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งอันตรายมาก เท่านั้น
ถ้ากรณีที่เรือพลิกคว่ำหลังลงจากที่สูงแล้ว ผู้ตกน้ำควรจะดำน้ำมุดหนีโพรงน้ำนั้นให้เร็วที่สุด อย่าพยายามขึ้นมาเหนือน้ำ เพราะกระแสน้ำจะม้วนดูดกลับลงไปอีก
การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกเรือ เมื่อตกไปในน้ำก็ให้พยายามว่ายเข้าหาเรือ หรือเข้าฝั่งให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจากกระแส น้ำที่พัดพาตัวเราให้ไปตกอีกแก่งหนึ่งได้
เมื่อตกน้ำ ให้พยายามลอยตัวให้อยู่เหนือน้ำในลักษณะท่านอนหงาย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นระดับผิวน้ำ เสื้อชูชีพจะช่วยพยุง ตัวให้ลอย พยายามให้ขาไปข้างหน้าขณะที่ไหลไปตามกระแสน้ำ ค่อย ๆ เตะขาอย่างช้า ๆ เพื่อชะลอความเร็วและป้องกัน ตัวเองจากการกระแทกกับแก่งหิน
ที่สำคัญอย่างยิ่งในการล่องเรือ ผู้เชี่ยวชาญเน้นที่ความปลอดภัยทุกครั้ง โดยเฉพาะอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เสื้อชูชีพ หมวกกัน น็อก เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวเราให้ลอยเหนือน้ำ ส่วนหมวกกันน็อกนอกจากจะช่วยป้องกันศีรษะกระแทกกับหินแล้ว ใน กรณีตกจากเรือ ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุไม้พายของคนข้างหลังตีอีกด้วย
การจัดระดับความยากของแก่งตามมาตรฐานสากล ระดับ 1 ง่ายมาก มีแก่งเล็กน้อย
ระดับ 2 ธรรมดา น้ำไหลแรงขึ้น มีแก่งที่ต้องใช้เทคนิค
ระดับ 3 ปานกลาง เริ่มมีแก่งน่าตื่นเต้น เทคนิคการพายสูงขึ้น
ระดับ 4 ยาก มีแก่งที่ต้องใช้ทั้งเทคนิคและทักษะในการพาย
ระดับ 5 ยากมาก น้ำไหลเชี่ยว ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายสูง และต้องมีความระมัดระวัง
ระดับ 6 อันตราย ไม่เหมาะแก่การล่องแก่ง
ติดต่อล่องแก่งลำน้ำเข็กได้ที่1. ทรัพไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็งแอนรีสอร์ท โทร 0-5529-3293 ,0-5529-3339-40, 0-2236-2711, 0-2236-2715
2. POP TOUR โทร 0-5524-2060, 0-1680-3939, 0-1475-5080
3. ์NATURE CAMP โทร 0-5521-3541, 0-1475-6867
4. RAIN FOREST RESORT โทร 0-5529-3085-6
5. CAMPING SIDE CENTER โทร 0-2433-2760
6. ภูแก้ว แอดเวนเจอร์ ปาร์ค โทร. 0-2381-0691-4 , 0-2381-0198
ทุ่งแสลงหลวง สภาพพื้นที่เป็นทุ่งหญ้าโล่งใหญ่ (แบบสวันนา) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 60 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร มีทางลูกรังสายที่ทำการอุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง ตามเส้นทางจะผ่านป่าตอนกลางอุทยานฯ ทำให้ได้เที่ยวชมสภาพธรรมชาติของป่าเขาลำเนาไพรอีกด้วย
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการ และอำเภอ- นครไทย มีเนื้อที่ 339,375 ไร่ครับ ประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 สภาพพื้นที่ ทั่วไปเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน อยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 145 กิโลเมตร การเดินทางไป ใช้เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายที่บ้าน แยง (กิโลเมตรที่ 68 ) เข้าสู่เส้นทางหลวงหมาย เลข 2013 ไปประมาณ 29 กิโลเมตร ไปจนถึงอำเภอนครไทย แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอชาติตระการ 38 กิโลเมตร ก่อนถึง อำเภอชาติตระการเล็กน้อย แยกขวาทางหลวง หมายเลข 1237 อีก 10 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ หากใช้รถประจำทางสายพิษณุโลก- ชาติตระการ ขึ้นที่ สถานีขนส่งพิษณุโลก และต่อรถสอง- แถวสายชาติตระการ-บ้านนาดอน ไปยังน้ำตกชาติตระการ สถานที่ท่อง เที่ยวในอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกชาติตระการ หรือ น้ำตกปากรอง มีทั้งหมด 7 ชั้น หน้าผาบริเวณ น้ำตกมีสีสรร ต่างๆ กัน ตามแต่หินชั้นที่เกิดในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน จะมีฝูงผึ้งมาทำรังเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่ อุโมงค์ผาเลขมีร่องรอย ศิลปะยุคแรกของมนุษย์ คือ รอยแกะสลัก บนแผ่นหินเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ลักษณะ คล้ายรูปสัตว์ อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีบ้านพักไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว สำรองที่พักติดต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 5790529, 5794842 ได้ครับ
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีพื้นที่ 149,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี 2537 ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงตามแนวชายแดนไทย - ลาว มียอดภูสอยดาวสูงที่สุด 2,102 เมตร จากระดับทะเล สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุม เป็นป่าดิบเขาสลับทุ่งหญ้าและป่าสน เช่น ป่าสนสามใบ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีดอกไม้ป่าพันธุ์ต่างๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่างๆ ขึ้นอยู่กลางป่าสน ภูสอยดาวสามารถจะมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี แต่ถ้าหากอยากดูดอกไม้สีสวยๆ ที่มักจะขึ้นเพื่อรับความชุ่มชื้นในช่วงหน้าฝน ควรจะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว
สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่น้ำตกภูสอยดาว อยู่ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี แต่จะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน
ลานสน การเดินทางสู่ยอดลานสนต้องขึ้นเขาลาดชันเกือบตลอดเส้นทาง และผ่านเนินต่าง ๆ ที่มีชื่อบอกถึงความยากลำบากในการเดินผ่านแต่ละเนิน เช่น เนินส่งญาติ เนินปราบเซียน เนินป่าก่อ เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ที่มีความสูงชันมากที่สุด แต่เส้นทางที่เดินขึ้นไปนั้นไม่ยุ่งยากเพราะจะเดินไต่เขาขึ้นไปตามสันเขาไม่ มีทางแยกไปไหน ระยะทางเดินเท้าขึ้นลานสนประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5-6 ชั่วโมง บนลานสนจะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นสนสองใบ สนสามใบ ต้นหงอนนาค ที่มีสีม่วงตัดกับดอกสร้อยสุวรรณาที่มีสีเหลือง ออกดอกให้ดูสวยงาม และดอกไม้อีกนานาชนิดที่ขึ้นอวดความสวยงามและสร้างความสดขื่นสดใสให้กับลาน สน บนลานสนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามด้วย บนลานสนไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการจะขึ้นไปพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง และหากนักท่องเที่ยวต้องการลูกหาบช่วยขนสัมภาระก็มีบริการ การจะขึ้นบนลานสนต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง และอุทยานฯ จะอนุญาตให้ขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 08.00–13.00 น.
น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตกอยู่บนลานสน มี 7 ชั้น ทางไปน้ำตกเป็นหุบเขา ค่อนข้างลาดชัน
อุทยานฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว และสามารถกางเต็นท์ได้บนยอดลานสน สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579–5734, 579–7223 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 53110
การเดินทางจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1045 ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ สู่อำเภอน้ำปาด ระยะทาง 68 กิโลเมตร ต่อจากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 1239 ไปทางบ้านห้วยมุ่นอีกประมาณ 47 กิโลเมตร และจากบ้านห้วยมุ่นใช้เส้นทางหมายเลข 1268 อีก 18 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกภูสอยดาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินเท้าขึ้นสู่ยอดลานสน สำหรับรถโดยสารประจำทาง จากอุตรดิตถ์จะมีรถโดยสารปรับอากาศออกจากตลาดอำเภอเมือง (ตลาดต้นโพธิ์) ไปอำเภอน้ำปาดทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00–17.00 น. (แต่รถเที่ยวแรกจะเข้ามาที่สถานีขนส่ง เวลา 05.00 น.) ใช้เวลาประมาณ 2.30 ชั่วโมง จากนั้นลงรถที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอน้ำปาด จะมีท่ารถสองแถว ต้องเหมารถไปภูสอยดาวประมาณ 300 บาท ใช้เวลาเดินทางอีก 3 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางกลับทางอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต้องเหมารถไป ราคาประมาณ 500 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารไม่ปรับอากาศที่อำเภอชาติตระการ สายชาติตระการ-นครไทย-พิษณุโลก มีรถบริการระหว่างเวลา 05.00–17.30 น. ช่วงนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 43 บาท รถโดยสารจากพิษณุโลก กลับกรุงเทพฯ ควรจะไปซื้อตั๋วที่บริษัทในตลาดโดยตรงมากกว่าที่จะมาที่สถานีขนส่ง เนื่องจากมีโควต้าขายตั๋วน้อย