Walking around Thailand,Nature-lovers trip,Information about tourism, สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย,เที่ยวแบบคนรักธรรมชาติ,ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยว,ท่องเที่ยว, ทัวร์, travel, travel guide, travel tips, travel packages, travel information, travel agency
เทศกาลท่องเที่ยวเมืองไทย ปี 2554
ขับ ATV เที่ยวป่าห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ
เที่ยวสุดแดนตะวันออกที่ "อำเภอท่าตะเกียบ"
งานบุญประเพณี "แซนโฎนตา" บูชาบรรพบุรุษ
เปิดฤดูกาลล่องแก่งหินเพิง ปราจีนบุรี
เทศกาลชิมกาแฟแก่งซอง ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
วันหยุดเทศกาลเข้าพรรษาพบกันที่บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติสุพรรณบุรี
งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงาม
เที่ยวสุดแดนตะวันออกที่ "อำเภอท่าตะเกียบ"
งานบุญประเพณี "แซนโฎนตา" บูชาบรรพบุรุษ
เปิดฤดูกาลล่องแก่งหินเพิง ปราจีนบุรี
เทศกาลชิมกาแฟแก่งซอง ล่องแก่งลำน้ำเข็ก
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
วันหยุดเทศกาลเข้าพรรษาพบกันที่บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติสุพรรณบุรี
งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงาม
13 มิถุนายน, 2552
งานบุญประเพณี "แซนโฎนตา" บูชาบรรพบุรุษ
“แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ”
“วันแซนโฎนตา เทศกาลเบ็ณทม วันครอบครัวของคนสุรินทร์”
“แซนขม็อจกะไม๊ยซร็อจซรา แซนโฎนตาอ็อยซร็อจตึกโดง”
โดยทางจังหวัดได้กำหนดจัดงาน “แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ” ขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2552 เวลา 14.00 น. ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์
แซนโฏนตา เป็นประเพณีบูชาบรรพบุรุษ ของชาวเขมรสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ “ พิธีกรรมที่ระลึกถึงบรรพบุรุษ การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน การรวมญาติ การเฉลิมฉลอง และวิถีชีวิตชุมชนเกษตรกรรมที่มีความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข”
แซน /แซนเปรียญ ตรงกับคำว่า เซ่น หรือ เซ่นสรวง เป็นลักษณะกิริยา การกระทำ กระบวนการ หรือพิธีกรรม มีการจัดสำรับอาหารหวานคาว เรียกว่า ซะแนนหรือสะปวก จุดธูปเทียนบอกกล่าว ร้องเรียกชื่อสกุลของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว ให้มา“ซีเจาะ โฮบปะซากระยาบูชา” การหยิบแบ่งให้ ปจี ลงท้ายที่การกรวดน้ำให้ “แซนขม็อจซร็อจตึกโดง” ภาพลักษณ์ทั้งหมดแสดงออกทางสังคม บ่งชี้คุณธรรม ถึงธรรมชาติแห่งความจงรักภักดี ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรักความผูกพัน ความตระหนักในบุญคุณ การประกาศคุณค่าคุณงามความดี ที่มีต่อบรรพบุรุษ
โฎนตา แยกเป็น ๒ คำ คือ โฏน กับ ตา
โฎน (เจียโฎน ) เป็นบรรพบุรุษฝ่ายหญิง หมายถึง ยาย ย่า ยาดทวด ย่าทวด
บางพื้นที่ กล่าวว่า โฎน แปลว่า นาน , ล่วงเลย , อายุมาก มีความหมายว่า ตระกูล , ตระกูลบรรพบุรุษ เป็นคำกลาง ๆ ใช้ได้ ทั้งชาย หรือ หญิง เช่น โฎนตา โฎนแย็ย เจีย แปลว่า ไป,ไกล เจียโฎน มีความหมายว่าโคตร
ตา (เจียตา ) เป็นบรรพบุรุษฝ่ายชาย หมายถึง ตา ปู่ ตาทวด ปู่ทวด
โฏนตา หมายเอา บรรพบุรุษ ที่เสียชีวิตแล้ว
แซนโฎนตา ประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๐ หรือ แคเบ็ณ ของทุกปี
แค ตรงกับคำว่า เดือน เป็นหน่วยนับเวลา มีระยะเวลา ๓๐ วัน ตามการเปลี่ยนแปลงที่ครบรอบของพระจันทร์ เริ่มต้นตั้งแต่พระจันทร์เริ่มส่องแสง หรือ ขึ้น ๑ ค่ำ เริ่มเดือนหงาย ถึงวันพระจันทร์ดับสนิท แรม ๑๕ ค่ำ ในระยะ ๑ เดือน แบ่งเป็น ๒ ช่วงหรือ ปักษ์ ๑๕ วันแรก เป็นข้างขึ้น เรียก ปักษ์ แรก ๑๕ วันหลัง เป็นข้างแรม เรียก ปักษ์หลัง
แคเบ็ณ ของชาวสุรินทร์ อยู่ในกลางพรรษา ช่วงหลังการปักดำข้าว ต้องปิดกั้นน้ำไว้เลี้ยงต้นข้าว และข้าวกำลังแต่งตัวเตรียมตั้งท้อง เป็นช่วงที่แผ่วการลงแรง ชาวนาจะเฝ้าดูแลรักษาเอาใจใส่ต้นข้าวในนาปรารถนาให้เจริญงอกงาม สวยงาม ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ชาวเขมรจึงประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ ( แซนโฎนตา)
แคเบ็ณ มีความหมายว่า เดือนที่มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ กร่อนจาก แคบายเบ็ณ ( เดือนข้าวบิณฑ์)
บายเบ็ณ มาจากคำภาษาบาลีว่า บิณฑะ ซึ่งแปลว่า ก้อนข้าว มีความหมายว่า บรรพบุรุษร่วมข้าวก้อนเดียวกัน , บรรพบุรุษในตระกูลเดียวกัน, หมู่ญาติที่ทานข้าวหม้อเดียวกัน , ปู่ย่าตายายพ่อแม่พี่น้องลูกหลานหมู่ญาติเดียวกัน
เบ็ณตู๊จ (ตู๊จ แปลว่า เล็ก , น้อย ,นิดหน่อย) ทางกาลเวลามีความหมายว่า เริ่มต้น , ช่วงต้นเดือน , ๑๕ วันแรกของเดือน ปักษ์แรก มีวันขึ้น ๑๕ ค่ำเป็นวันสุดท้าย ทางคำนาม มีความหมายว่า การเริ่มต้นความพร้อม, การเตรียมความพร้อม , การเริ่มต้นในการกระทำ เพื่อบูชาบรรพบุรุษ
เบ็ณทม ( ทม แปลว่า ใหญ่ , ยิ่งใหญ่ , สมบูรณ์ , เต็มที่ ,โต ) ทางกาลเวลามีความหมายว่า เต็มเดือน , ปลายเดือน,จะสิ้นเดือน , ๑๕ วันหลัง ปักษ์หลัง มีวันแรม ๑๕ ค่ำ เป็นวันสุดท้าย ทางคำนาม มี ความหมายว่า การไปทำบุญที่วัดทุก ๆ วัน, การไปทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง, การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เต็มที่, การรวมญาติในตระกูลเดียวกัน, การพบปะกันในเหล่าหมู่ญาติ, การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกันในครอบครัว, การกระทำการบูชาบรรพบุรุษอย่างยิ่งใหญ่, การแซนโฎนตาที่เต็มรูปแบบ, พิธีกรรมแซนโฎนตาที่สมบูรณ์
แซนโฎนตา จัดขึ้นในช่วง เบ็ณทม หรือ แซนโฎนตา คือ เบ็ณทม
เทศกาลทำบุญทำทาน ความหมาย ความเชื่อ จารีต และ พิธีกรรม เบ็ณทม / แซนโฎนตา
เวรจังหัน, เวรลูก (บุญเจ้าภาพเลี้ยงภัตตาหาร)
ใน ช่วงตลอดพรรษา ชุมชนจะแบ่งหน้าที่กันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระ โดยจัดกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นกลุ่มที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน กลุ่มหนึ่งก็ประมาณ ๔– ๖ คน หรือพอสมควรกับจำนวนพระเณรในวัด เพื่อนำภัตตาหารที่เป็นกับข้าวหรือกับแกง ไปถวายพระที่วัดในตอนเช้าของแต่ละวัน ถ้าเป็นวันพระหรือวันที่มีการไปทำบุญกันรวมกันทั้งชุมชนอยู่แล้วเช่น “กันส่ง” จะไม่ต้องจัดกลุ่มไปถวายภัตตาหาร และพระสงฆ์ก็ไม่ต้องออกบิณฑบาต
เลียงลูก ( ทำบุญเลี้ยงพระ)
มีการนัดแนะกันหลาย ๆ คน หลาย ๆ ชุมชน ได้ร่วมกันยกภัตตาหารไปทำบุญเลี้ยงเพลพระ ณ วัดใดวัดหนึ่ง
สดับลูกสวดมนต์ละเงียย (ฟังเจริญพระพุทธมนต์เย็นก่อนวันพระ)
ผู้คนหนุ่ม สาว ผู้หลักผู้ใหญ่ ถือพานดอกไม้ธูปเทียน ไปวัดช่วงค่ำคืนก่อนถึงวันพระ เพื่อฟังพระสงฆ์ในวัดเจริญพระพุทธมนต์เย็น
ปล็อยเเปรต (ปล่อยเปรต)
ใน รอบปี ผู้คุมจะปล่อยวิญาณเปรตทั้งหลายจากเขาตรีกูฏขึ้นมาท่องเที่ยวบนโลกมนุษย์ ๑ ครั้ง ปล่อยให้มาเยี่ยมบ้าน เยี่ยมญาติ คือ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ(เบ็ณตู๊จ) ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ (เบ็ณทม) โดย วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ( งัยเป็งบ็อล แคเบ็ณ งัยปล็อยเเปรต)เป็นวันปล่อย และ เวลาเช้าของวันแรม ๑๕ ค่ำ (งัยด็าจส์)เป็นวันส่งกลับหรือรับกลับ ตั้งแต่วันแรม ๘ ค่ำถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ จำนวน ๗ วัน พวกวิญญาณเปรต จะเดินทางไปเฉพาะที่วัดเท่านั้น เพื่อรอรับเอาส่วนบุญที่หมู่ญาติพี่น้องลูกหานทั้งหลายของตนทำบุญการอุทิศ ให้ ถ้าไม่พบหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตนไปทำบุญอุทิศให้ที่วัดหนึ่ง วิญญาณเปรตก็จะเดินทางไปหาหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตนที่วัดอื่น ๆ ใกล้เคียงกันต่อไป ตลอด ๗ วันนี้ จะท่องเที่ยวหาญาติพี่น้องลูกหลานของตนครบจำนวน ๗ วัด ๗ วา ถ้าไม่พบหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตน มาทำบุญอุทิศให้ ณ วัดใดวัดหนึ่งเลย วิญญาณเปรตก็นั่งร้องไห้ และสาบแช่งหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานคนนั้น ๆ (อวยฉิบหาย กะซจ กะเซ็น เฮ็นฮัย กะไม๊ยเมียน กะไม๊ยเกิดเล็ย) ให้ฉิบหาย ตกต่ำ หากินไม่รุ่งเรือง ให้อดอยาก ยากจนข้นแค้น ตกทุกข์ได้ยาก ต่าง ๆ นานาประการ ฯลฯ
เทอบ็อญอุติส ( ทำบุญอุทิศ ให้อย่างเห็นใจ ให้อย่างจริงใจ ให้อย่างคิดถึงห่วงใยอาทร ให้อย่างจงรักภักดี
ให้อย่างบริสุทธิ์ใจ )
อุทิศ แปลว่า เฉพาะเจาะจง มาจากภาษาบาลี (อุ+ทิส ) อุ = ขึ้น,นอก ทิส=มอง, แลดู, เห็น, มองเห็น อุทิศ จึงมีความหมายว่า จ้องมองเฉพาะคนใดคนหนึ่ง , มองเห็นเฉพาะบุคคล , มองเจาะจงตัวบุคคล, ยกให้เจาะจง , เจาะจงให้เฉพาะ ,ให้ความสำคัญมากที่สุดเฉพาะ อุทิศใช้คู่กับบุญ เช่น ทำบุญอุทิศ, อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล, กรวดน้ำอุทิศ, ส่วนบุญส่วนกุศลนี้อุทิศให้… , อุทิศบุญด้วยน้ำสะอาด เป็นต้น
เมื่อชาวเขมรประกอบพิธีกรรมในเทศกาลเบ็ณทม แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น
กันซง มีความหมายเต็มว่า ถือสัจจะในการทำบุญกับพระสงฆ์ ใกล้เคียงกับคำว่า กันซ็อง ตะร็องเจิ๊ด ไป ทำบุญกันที่วัด และไปแต่เช้า ๆ ทุกวัน ตลอด ๖ วัน กิจกรรมกันซงที่ประกอบเป็นวิธีการ มีการจัดสะปวกถวายพระ จัดทำกระต็วงบายดา จัดทำบายเบิ๊ดตะโบ ตักบาตร สวดดา ถือน้ำขวดกรวดน้ำสะอาด ห่อข้าวต้ม ทำขนมนมเนย และการฉลองซง
แซนโฎนตา ในวันแซนโฎนตา จะลุกจัดสถานที่แซนโฎนตา เตรียมการแต่เช้า จัดก็จัดบนบ้าน เลือกเฉพาะพื้นเรือนชั้นสูง ๆ ปูลาดชั้นล่างสุดด้วยเสื่อ ทับลงด้วยฟูกหลังใหม่ให้หันไปทางตะวันออก ด้านหัวพับฟูกเป็น ๒ ชั้น ปูผ้าขาวคลุมฟูกอีกที แล้ววางหมอนบนหัวฟูก จัดพานดอกไม้ขันธ์ ๕ วางบนฟูก จัดกระเฌอโฎนตาวางข้างซ้ายฟูก(กระเฌอใส่ของโฎนตา) พร้อมของกินของใช้ที่จำเป็นในการอยู่การดำรงชีวิต หาของป่ายาสมุนไพร (เฉพาะสมอและมะขามป้อม) เมล็ดพันธุ์ธัญญาหาร พืชพันธุ์ พันธุ์ผักพื้นบ้าน ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ที่สามารถจัดหาได้ในครัวเรือนในชุมชนและตามป่าตามทุ่งนา หวังฝากส่งให้ถึงโฎนตาจะได้นำไปปลูก ไปขยายพันธุ์ ไปกินไปใช้สอยได้ หาใส่รวมไว้ให้ครบครันในกระเฌอโฎนตา จัดตั้งซะแนน หรือ ซะปวก ๑ ซะปวก สำรับกับข้าวและน้ำดื่มสะอาดไว้ต้อนรับ เรียบตะต็วลโฎนตาวางข้างขวาฟูก จุดเทียนธูปตลอดเวลาตลอดวัน หาเสื้อผ้า ผ้านุ่งผ้าสไบผืนใหม่ ๆ สำหรับทั้งชายและหญิงสีสดไว้บนภาชนะถาดรองรับจัดวางไว้ใกล้ซะแนนแซน เมื่อญาติพี่น้องลูกหลาน เขยสะใภ้ มาจากที่ใกล้หรือที่ไกลต่างถือของกินของใช้ เสื้อผ้า อาหารสุก อาหารดิบ ผลหมากรากไม้ หรือเงินตรา ติดมือมาฝากบูชาพ่อแม่(จูนเบ็ณ/จูนโฎนตา) และแซนโฎนตา ถึงเรือนแล้วก็ขึ้นตรงไปแซนโฎนตา ช่วยกันเรียกหาบรรพบุรุษออกชื่อออกนามสกุลให้ถูกต้องให้ชัดเจนและเรียกเสียง ดัง ๆ เป็นการ ปะจุมโฎนตา หรือชุมนุมโฎนตา เพื่อ“ซีเจาะ โฮบปะซากระยาบูชา” เรียกแล้วก็กรวดน้ำให้ เรียกซ้ำกรวดซ้ำครั้งละ ๓ หน ยกส่วนบุญส่วนกุศลให้ก็ใช้น้ำโดงเลาคือน้ำมะพร้าวบริสุทธิ์ เพราะหาง่ายไม่ต้องจ่ายซื้อ ญาติพี่น้องลูกหลาน เขย สะใภ้ คนนับถือคนใหม่มาก็แซนโฎนตาอย่างนั้นทุกรอบไป แม้เจ้าบ้านเดินไปเดินมา ห่อข้าวต้มบ้าง ทำขนมบ้าง หรือทำงานอื่น ๆ อยู่ ถ้านึกได้ คิดได้ถึงบรรพบุรุษคนไหนคนใหม่ ชัดในใจว่ายังไม่เรียกหายังไม่ได้บอกกล่าวถึง ก็ขึ้นไปแซนใหม่ ซ้ำ ๆ เวียนขึ้นเวียนลงตลอดทั้งวัน ผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านหรือญาติมิตรเพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียงต่างชวนต่างช่วยกันแซนโฎนตาคนละที ขึ้นบ้านนี้ลงบ้านนั้นไปบ้านโน้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายจนเย็นค่ำ ยามไปมาหาสู่กันก็มีของฝากกัน ของแลกเปลี่ยนกัน ให้บ้านโน้น แลกบ้านนี้ เป็นขนมบ้าง ข้าวต้ม ผลไม้บ้าง อาหารบ้าง บางบ้านก็จัดหาอาหารมาทานร่วมกันด้วย
คนเฒ่าคนแก่ ผู้หลักผู้ใหญ่สอนไว้ว่า “ เมื่อออกบ้านมีเรือนแล้ว ให้ลูกจัดกระเฌอโฎนตาที่บ้านของตนด้วย เพื่อว่าตายายจะได้ไปมาหาสู่ จะได้ให้การต้อนรับ ตายายได้ ซีเจะ โฮบปะซาแล้ว จะได้ให้พร ให้หากินรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข และแต่ละบ้านจะมีผีบ้านผีเรือน เมี๊ยบาปะเตี๊ยซะแม็ง รักษาดูแลอยู่” ลูกหลานรุ่นหลังบ้านใดที่เชื่อฟังและทำตามเมื่อถึงวันโฎนตาทุกปี คนเฒ่าคนแก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ในตระกูล ก็จะพากันมาช่วยแซน ช่วยเรียกโฎนตาอย่างอบอุ่น
ลูกสะใภ้คนดีต้องจู นโฏนตา จัดของกินของใช้ เสื้อผ้า อาหารสุก อาหารดิบ ผลหมากรากไม้ หรือเงินตรา ตามความเหมาะสมไปบูชาคุณพ่อคุณแม่ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ พ่อแม่ฝ่ายตนและพ่อแม่ฝ่ายสามี การจูนโฎนตาจะกระทำก่อนวันหรือกระทำในวันแซนโฎนตาก็ใช้ได้ ที่บ้านก็จัดแซนโฎนตาปลูกฝังความดีในครอบครัว หน้าที่จูนโฎนตาก็ไม่ดูดาย
ได้เวลาเย็นพลบค่ำ ประมาณว่าวัวควายเข้าคอกแล้ว ก็พาสมาชิกในครอบครัวร่วมแซนโฎนตาสรุปใหญ่ ก่อนแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ เพื่อให้บุญกุศลมีกำลังแรงและส่งถึงโฎนตาได้มาก ๆ ทุกคนในครอบครัวก็ต้องทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายวาจาใจก่อน ด้วยการให้น้องถือพานดอกไม้ธูปเทียนกล่าวคำขอขมาลาโทษ ขอโทษขออภัยที่เคยผิดพลาดล่วงเกินพลาดพลั้งต่อพี่ น้องกับพี่ทำการขอขมาอย่างนี้ต่อ ๆ กันตามลำดับ เริ่มที่น้องสุดท้องน้องสุดท้ายก่อน เมื่อถึงพี่คนโตลูก ๆ ทุกคนก็รวบรวมสิ่งของเสื้อผ้างาม ๆ เงินทองของมีค่าของมีคุณใส่พานพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไว้บนสุดทำการขอขมาลาโทษ และมอบของบูชาคุณพ่อคุณแม่ ( ถ้าแยกครัวเรือกันแล้วจะกระทำก่อนวันโฎนตาหรือช่วงเช้าจึงควร) ขอศีลขอพรจากคุณพ่อคุณแม่ พ่อและแม่จะทำการขอขมาต่อคุณตาคุณยาย และโฎนตาตามลำดับ แล้วพากันแซนโฎนตาสรุปรอบสุดท้ายของที่บ้าน พ่อกับแม่และลูก ๆ ช่วยกันทบทวนชื่อเสียงเรียงนามของบรรพบุรุษทั้งหมด เรียกซ้ำกรวดซ้ำ ๓ หน ให้ตายายผัดเปลี่ยนสวมใส่เสื้อผ้าผืนใหม่เตรียมตัวไปรับศีลรับพรที่วัดค่ำ นี้ ทั้งบอกลูก ๆ ให้เข้าใจและช่วยกันกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้อย่างถูกต้องถูกวิธีบุญกุศลจะ ส่งถึงโฎนตาจริง ประกอบกับโฎนตามีจิตเป็นสัมมาทิฏฐิจึงรับอนุโมทนาบุญได้โดยสะดวก ด้วยคำว่า “แซนขม็อจกะไม๊ยซร็อจซรา แซนโฎนตาอ็อย ซร็อจตึกโดง” ถึงที่สุดก็เรียกถึงผีบรรพบุรุษที่ไม่รู้จัก เรียกรวม เรียกรวบ เรียกทั้งกลุ่ม เรียกตามประเภท สุดท้ายจัดห่อข้าวปลาอาหารใส่กระทงใบตอง จัดไว้เป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ โยนปจีไปนอกเรือนชาน หรือนำไปวางไว้ตามถนนหนทาง มีทางแพร่ง ทางสามแยกบ้าง ทางสี่แยกบ้าง ส่วนที่ ๒ ใส่ไว้ในกระเฌอโฎนตา ทั้ง ๒ ส่วนนี้ทำให้เพื่อฝาก เพื่อแจกแบ่งให้ทั่วถึงผีเปรตวิญญาณเร่ร่อน ผีเปรตพิกลพิการ ผีเปรตหูหนวกตาบอด “เนียะควะขะเม็น กะจอก กูดงัว” ผีเปรตขี้อาย ผีเปรตที่ไม่ใช่ญาติ ผีเปรตไม่มีญาติ มาไม่ได้ มาไม่ถึง มาไม่ทัน ไม่กล้ามา ไม่กล้าเข้าเรือน
หลังแซนอุทิศโฎนตา แล้วพ่อแม่ก็ขอพรจากโฎนตาให้พี่น้องลูกหลานปราศจากทุกข์ โศก โรค ภัย โทษ อันตราย สิ่งไม่พึงปรารถนาทั้งปวง ขอให้ครอบครัวพี่น้องลูกหลานได้ประสบสุขประสบโชค อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน หลังจากนั้นช่วยกันรื้อจัดเก็บสถานที่ เตรียมพร้อมไว้แต่กระเจอโฎนตา
นำกระเฌอโฎนตาไปวัด ฟังพระสวดมนต์อุทิศบุญกุศล ดาหรือบังสุกุลในยามค่ำคืน ช่วงจบแต่ละบทสวด ซึ่งมีหลายตอน ก็เรียกโฎนตาด้วยเสียงดัง ๆ และยกน้ำมะพร้าวกรวดน้ำให้ เป็นช่วง ๆ เสร็จแล้วกลับไปบ้าน แล้วรีบลุกขึ้นใหม่แต่ดึกประมาณหน่อยตี ๔ พร้อมบายเบ็ณ ไปวัดฟังพระสวดมนต์อุทิศ ดาหรือบังสุกุลอีกรอบทำเหมือนกับตอนเย็น ก่อนที่จะรุ่งสางจะเอากระเฌอโฎนตาไปเทในสถานที่ใกล้ตอไม้ หรือที่เหมาะสม เพื่อผีเปรตวิญญาณเร่ร่อน ผีเปรตไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ ผีเปรตขี้อาย ผีเปรตที่ไม่ใช่ญาติ ผีเปรตไม่มีญาติ มาไม่ถึง มาไม่ทัน ไม่กล้ามา ไม่กล้าเข้ากลุ่ม มารับเอาได้ แล้วเอากลับไป การจะกระเจอโฎนตาคือ การส่งวิญญาณเปรตกลับภพภูมิ
บุญสุดท้ายแห่ง เทศกาล คือ การไปวัดทำบุญตักบาตร วันเบ็ณทม จัดถือข้าวปลาอาหาร ข้าวต้ม ขนมนมเนย ทำบุญถวายพระ และมีการจดชื่อบรรพบุรุษ และผู้ล่วงลับดับชีวิตไปก่อนเพื่อทำบุญอุทิศ สวดดา อีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายของเทศกาลเบ็ณทม
เทศกาลเบ็ณทม และการแซนโฎนตา เป็นการกระทำเพื่อการอุทิศบุญกุศลให้บรรพบุรุษอย่างมีศรัทธา มีความเชื่อ ความรักความเมตตาปราณีต่อผีเปรตวิญญาณอื่น ๆ อย่างจริงใจ บริสุทธิ์ใจ อุทิศส่วนบุญให้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง ทุกระดับชนชั้น ทุกประเภท และมีคุณค่าทางสังคม ทางชุมชน ทางครอบครัว เพราะมีการแลกเปลี่ยน การแบ่งปัน การดูแลเอาใจใส่กัน การไปมาหาสู่กัน การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน บ้านใดเรือนใดทำการแซนโฎนตาได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องทุกปี จะเป็นบ้านที่มีหมู่ญาติลูกหลานและคนนับถือเป็นที่รักจำนวนมาก จะเพิ่มพูนฐานะทางสังคม จะเพิ่มพูนคุณธรรม จะเพิ่มพูนความสงบสุขร่มเย็นต่อเนื่องไป
กันซง
กิจกรรม และพิธีกรรม ที่มีการจัดสะปวกไปถวายพระ ทำกระต็วงบายดา ทำบายเบิ๊ดตะโบ ตักบาตร ถือน้ำขวดกรวดน้ำสะอาด ทำขนม ห่อข้าวต้ม ฉล็องซง ไปวัด และไปแต่เช้า ๆ ทุกวัน ตลอด ๖ วัน เริ่มตั้งแต่วันแรม ๙ ค่ำ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ รวมวันพระแรม ๘ ค่ำด้วย เป็น ๗ วัน
กันต็วงบายดา ( กระทงข้าว)
กระทง เย็บด้วยใบตอง ใส่ข้าวพร้อมกับแกงและเงินเหรียญ เอากรวยใบตวง ครอบกระทงข้าว ปักธูป ๑ ดอก กลางกรวย เป็นอาหารที่จัดแบ่งไว้เซ่นอุทิศให้ผู้ตาย ใช้ประกอบพิธีการสวดดา เปลี่ยนกระทงใบใหม่ทุกวัน ใช้ประกอบพิธี ตั้งแต่วันแรม ๑๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ รวม ๕ เช้า นำไปพร้อมกับบายเบิ๊ดตะโบ และบายเบ็ณ หรือนำไปพร้อมกันซง ( แต่ละพื้นที่ยังต่างกัน) ใส่ในกระเจอโฎนตาก็ใช่
สวดดา
สวดดา คือ การสวดมนต์บทต่าง ๆ ที่ใช้ในงานอวมงคล เกี่ยวกับงานศพ งานทำบุญอุทิศ หรือบังสุกุล และมีการจัดทำกระต็วงบายดา หรือ บายเบิ๊ดตะโบ หรือ บายเบ็ณ ประกอบไว้ด้วย ตลอดเทศกาลเบ็นทมจะสวดจำนวน ๗ ครั้ง คือ เช้ามืด วันแรม ๑๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ ค่ำวันแรม ๑๔ ค่ำ และ เช้าวันพระเบ็ณทม ( เวลาและจำนวน มีการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละพื้นที่)
บายเบิ๊ดตะโบ
ข้าว เหนียวหุง ปั้นเป็นก้อนขนาดใหญ่หัวแม่มือเล็กน้อย จัดเรียงต่อ ๆ กันไว้ในพานเป็นเนินข้าว โรยงาบด ปิดด้วยกรวยใบตอง ปักธูป ๑ ดอก นำไปวัดรอบแรกแต่เช้ามืดทุกเช้า เพื่อนิมนต์พระสงฆ์สวดดา นำไปพร้อมกระต็วงบายดา อุทิศบุญแล้วกลับมาบ้าน เริ่มวัน แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ - วัน แรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ จำนวน ๔ เช้า/วัน
ห่อข้าวต้ม ทำขนมฉล็องซง
วันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๑๐
เจริญพระพุทธมนต์ฉล็องซง
ค่ำคืนวันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๑๐
ฉล็องซง
เช้าวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐
จูนโฎนตา / จูนเบ็ณ
จูน ตรงกับคำว่า ส่ง มีความหมายว่า เอาไปส่ง , เอาส่งให้ ,เอาไปส่งให้ หมายถึง การที่ลูกหลาน เขย สะใภ้ นำสิ่งของ ของกิน ของใช้ เงินทอง เสื้อผ้า มอบให้หรือบูชาคุณพ่อคุณแม่ เป็นเหตุให้มีการหยุดงาน ลางาน เพื่อกลับเยี่ยมบ้าน ไหว้พ่อแม่ ไหว้ตายาย พบปะพี่น้องลูกหลาน ทานข้าวร่วมกัน ทำบุญร่วมกัน ทำกันได้ตลอดเทศกาลเบ็ณทม กระทำกันก่อนวันหรือในวันแซนโฎนตาก็ใช้ได้
กร็านบ็อน กร็านปูก กร็านเท็ดซอ เรียบเขนย
เวลา เช้าก่อนจะทำสิ่งอื่น ในวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐
เรียบกระเฌอโฎนตา
หา ของป่า เมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์ผักสวนครัวต่าง ๆ อาหาร ขนม ข้าวต้ม ของใช้อื่น ๆ หามาใส่กระเจอโฎนตา หาใส่ได้เรื่อย ๆ ทั้งวัน ของป่า ๒ อย่าง มีสมอและมะขามป้อม เมล็ดพันธุ์ เช่น พันธุ์ข้าว พันธุ์แตง ถั่ว งา ต่าง ๆ พันธุ์พืช เช่น อ้อย พันธุ์ผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ตระเพรา โหระพา ใช้ขยายพันธุ์หรือประกอบอาหาร เช่น พริก หอม กระเทียม ผักประกอบอาหาร เช่น ฝัก แฝง แตง ของใช้อื่น ๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เงิน
เรียบตะต็วล ( จัดสำรับไว้ต้อนรับ)
ต้อนรับด้วยข้าวปลาอาหารหวานคาว และน้ำดื่มสะอาด จัดสำรับที่บ้าน เรียกหมู่ญาติที่รู้จักและไม่รู้จัก
เรียบซะแนน หรือ เรียบซะปวก ( สำรับ)
สำรับ ที่จัดใส่อาหารหวานคาว และน้ำดื่มสะอาด จัดผลไม้ด้วยเป็นความนิยมใหม่ จัดไว้เป็นชุด ซะแนน นับเป็นเครื่องเซ่นไหว้ มีไว้ให้ ให้แบบทิ้งขว้างได้ ส่วนซะปวก ถือเป็นสำรับที่ให้การต้อนรับอย่างมีเกียรติ และบูชาคุณ ซะปวก เป็นได้ทั้งคำนาม และลักษณะนาม
ห่อข้าวต้มเบ็ณทม
วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ หลังจากกลับจากการฉล็องซงแล้ว
แซนโฎนตา
วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ ใช้ โดงเลา น้ำมะพร้าวบริสุทธิ์
สวดกระเฌอโฎนตา
ค่ำคืนวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐
บายเบ็ณ
ข้าว เหนียวหุง ปั้นเป็นก้อนขนาดใหญ่หัวแม่มือเล็กน้อย จัดเรียงต่อ ๆ กันไว้ในพานเป็นเนินข้าว โรยงาบด ปิดด้วยกรวยใบตอง ปักธูป ๑ ดอก นำไปวัดรอบแรกแต่เช้ามืดวันสุดท้าย เพื่อนิมนต์พระสงฆ์สวดดา นำไปพร้อมกระต็วงบายดา อุทิศบุญแล้วจะกระเฌอโฎนตา ในแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ จำนวน ๑ ครั้ง
บายสะบะแซร / สะบะซร็อว ( เอาข้าวที่ผ่านพิธีกรรมไปหว่านลงในนาข้าว )
ข้าว เหนียวที่ปั้นเป็นก้อน ๆ บายเบิ๊ดตะโบก บายเบ็ณ ที่ผ่านการสวดดาที่วัดในช่วงเช้ามืดทุกเช้าแล้วนั้น เป็นข้าวที่โฎนตาได้ให้พรแล้ว เป็นสิ่งมงคล ก็นำกลับมาโปรย มาหว่านในนาข้าว ด้วยความปรารถนาให้ข้าวสวยงาม ไม่เป็นโรค ให้ออกดอก ใส่เม็ดเต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือนำไปโปรยในสวน ด้วยความปรารถนาดีต่อพืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงามเติบโต แข็งแรง เมื่อปรารถนาดีในสิ่งใด ๆ ก็หว่านลงในที่นั้น ๆ เป็นกำลังใจในการทำมาหากิน
“วันแซนโฎนตา เทศกาลเบ็ณทม วันครอบครัวของคนสุรินทร์”
“แซนขม็อจกะไม๊ยซร็อจซรา แซนโฎนตาอ็อยซร็อจตึกโดง”
โดยทางจังหวัดได้กำหนดจัดงาน “แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ” ขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2552 เวลา 14.00 น. ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์
แซนโฏนตา เป็นประเพณีบูชาบรรพบุรุษ ของชาวเขมรสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ “ พิธีกรรมที่ระลึกถึงบรรพบุรุษ การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน การรวมญาติ การเฉลิมฉลอง และวิถีชีวิตชุมชนเกษตรกรรมที่มีความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข”
แซน /แซนเปรียญ ตรงกับคำว่า เซ่น หรือ เซ่นสรวง เป็นลักษณะกิริยา การกระทำ กระบวนการ หรือพิธีกรรม มีการจัดสำรับอาหารหวานคาว เรียกว่า ซะแนนหรือสะปวก จุดธูปเทียนบอกกล่าว ร้องเรียกชื่อสกุลของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว ให้มา“ซีเจาะ โฮบปะซากระยาบูชา” การหยิบแบ่งให้ ปจี ลงท้ายที่การกรวดน้ำให้ “แซนขม็อจซร็อจตึกโดง” ภาพลักษณ์ทั้งหมดแสดงออกทางสังคม บ่งชี้คุณธรรม ถึงธรรมชาติแห่งความจงรักภักดี ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรักความผูกพัน ความตระหนักในบุญคุณ การประกาศคุณค่าคุณงามความดี ที่มีต่อบรรพบุรุษ
โฎนตา แยกเป็น ๒ คำ คือ โฏน กับ ตา
โฎน (เจียโฎน ) เป็นบรรพบุรุษฝ่ายหญิง หมายถึง ยาย ย่า ยาดทวด ย่าทวด
บางพื้นที่ กล่าวว่า โฎน แปลว่า นาน , ล่วงเลย , อายุมาก มีความหมายว่า ตระกูล , ตระกูลบรรพบุรุษ เป็นคำกลาง ๆ ใช้ได้ ทั้งชาย หรือ หญิง เช่น โฎนตา โฎนแย็ย เจีย แปลว่า ไป,ไกล เจียโฎน มีความหมายว่าโคตร
ตา (เจียตา ) เป็นบรรพบุรุษฝ่ายชาย หมายถึง ตา ปู่ ตาทวด ปู่ทวด
โฏนตา หมายเอา บรรพบุรุษ ที่เสียชีวิตแล้ว
แซนโฎนตา ประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๐ หรือ แคเบ็ณ ของทุกปี
แค ตรงกับคำว่า เดือน เป็นหน่วยนับเวลา มีระยะเวลา ๓๐ วัน ตามการเปลี่ยนแปลงที่ครบรอบของพระจันทร์ เริ่มต้นตั้งแต่พระจันทร์เริ่มส่องแสง หรือ ขึ้น ๑ ค่ำ เริ่มเดือนหงาย ถึงวันพระจันทร์ดับสนิท แรม ๑๕ ค่ำ ในระยะ ๑ เดือน แบ่งเป็น ๒ ช่วงหรือ ปักษ์ ๑๕ วันแรก เป็นข้างขึ้น เรียก ปักษ์ แรก ๑๕ วันหลัง เป็นข้างแรม เรียก ปักษ์หลัง
แคเบ็ณ ของชาวสุรินทร์ อยู่ในกลางพรรษา ช่วงหลังการปักดำข้าว ต้องปิดกั้นน้ำไว้เลี้ยงต้นข้าว และข้าวกำลังแต่งตัวเตรียมตั้งท้อง เป็นช่วงที่แผ่วการลงแรง ชาวนาจะเฝ้าดูแลรักษาเอาใจใส่ต้นข้าวในนาปรารถนาให้เจริญงอกงาม สวยงาม ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ชาวเขมรจึงประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ ( แซนโฎนตา)
แคเบ็ณ มีความหมายว่า เดือนที่มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ กร่อนจาก แคบายเบ็ณ ( เดือนข้าวบิณฑ์)
บายเบ็ณ มาจากคำภาษาบาลีว่า บิณฑะ ซึ่งแปลว่า ก้อนข้าว มีความหมายว่า บรรพบุรุษร่วมข้าวก้อนเดียวกัน , บรรพบุรุษในตระกูลเดียวกัน, หมู่ญาติที่ทานข้าวหม้อเดียวกัน , ปู่ย่าตายายพ่อแม่พี่น้องลูกหลานหมู่ญาติเดียวกัน
เบ็ณตู๊จ (ตู๊จ แปลว่า เล็ก , น้อย ,นิดหน่อย) ทางกาลเวลามีความหมายว่า เริ่มต้น , ช่วงต้นเดือน , ๑๕ วันแรกของเดือน ปักษ์แรก มีวันขึ้น ๑๕ ค่ำเป็นวันสุดท้าย ทางคำนาม มีความหมายว่า การเริ่มต้นความพร้อม, การเตรียมความพร้อม , การเริ่มต้นในการกระทำ เพื่อบูชาบรรพบุรุษ
เบ็ณทม ( ทม แปลว่า ใหญ่ , ยิ่งใหญ่ , สมบูรณ์ , เต็มที่ ,โต ) ทางกาลเวลามีความหมายว่า เต็มเดือน , ปลายเดือน,จะสิ้นเดือน , ๑๕ วันหลัง ปักษ์หลัง มีวันแรม ๑๕ ค่ำ เป็นวันสุดท้าย ทางคำนาม มี ความหมายว่า การไปทำบุญที่วัดทุก ๆ วัน, การไปทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง, การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เต็มที่, การรวมญาติในตระกูลเดียวกัน, การพบปะกันในเหล่าหมู่ญาติ, การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกันในครอบครัว, การกระทำการบูชาบรรพบุรุษอย่างยิ่งใหญ่, การแซนโฎนตาที่เต็มรูปแบบ, พิธีกรรมแซนโฎนตาที่สมบูรณ์
แซนโฎนตา จัดขึ้นในช่วง เบ็ณทม หรือ แซนโฎนตา คือ เบ็ณทม
เทศกาลทำบุญทำทาน ความหมาย ความเชื่อ จารีต และ พิธีกรรม เบ็ณทม / แซนโฎนตา
เวรจังหัน, เวรลูก (บุญเจ้าภาพเลี้ยงภัตตาหาร)
ใน ช่วงตลอดพรรษา ชุมชนจะแบ่งหน้าที่กันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระ โดยจัดกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นกลุ่มที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน กลุ่มหนึ่งก็ประมาณ ๔– ๖ คน หรือพอสมควรกับจำนวนพระเณรในวัด เพื่อนำภัตตาหารที่เป็นกับข้าวหรือกับแกง ไปถวายพระที่วัดในตอนเช้าของแต่ละวัน ถ้าเป็นวันพระหรือวันที่มีการไปทำบุญกันรวมกันทั้งชุมชนอยู่แล้วเช่น “กันส่ง” จะไม่ต้องจัดกลุ่มไปถวายภัตตาหาร และพระสงฆ์ก็ไม่ต้องออกบิณฑบาต
เลียงลูก ( ทำบุญเลี้ยงพระ)
มีการนัดแนะกันหลาย ๆ คน หลาย ๆ ชุมชน ได้ร่วมกันยกภัตตาหารไปทำบุญเลี้ยงเพลพระ ณ วัดใดวัดหนึ่ง
สดับลูกสวดมนต์ละเงียย (ฟังเจริญพระพุทธมนต์เย็นก่อนวันพระ)
ผู้คนหนุ่ม สาว ผู้หลักผู้ใหญ่ ถือพานดอกไม้ธูปเทียน ไปวัดช่วงค่ำคืนก่อนถึงวันพระ เพื่อฟังพระสงฆ์ในวัดเจริญพระพุทธมนต์เย็น
ปล็อยเเปรต (ปล่อยเปรต)
ใน รอบปี ผู้คุมจะปล่อยวิญาณเปรตทั้งหลายจากเขาตรีกูฏขึ้นมาท่องเที่ยวบนโลกมนุษย์ ๑ ครั้ง ปล่อยให้มาเยี่ยมบ้าน เยี่ยมญาติ คือ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ(เบ็ณตู๊จ) ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ (เบ็ณทม) โดย วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ( งัยเป็งบ็อล แคเบ็ณ งัยปล็อยเเปรต)เป็นวันปล่อย และ เวลาเช้าของวันแรม ๑๕ ค่ำ (งัยด็าจส์)เป็นวันส่งกลับหรือรับกลับ ตั้งแต่วันแรม ๘ ค่ำถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ จำนวน ๗ วัน พวกวิญญาณเปรต จะเดินทางไปเฉพาะที่วัดเท่านั้น เพื่อรอรับเอาส่วนบุญที่หมู่ญาติพี่น้องลูกหานทั้งหลายของตนทำบุญการอุทิศ ให้ ถ้าไม่พบหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตนไปทำบุญอุทิศให้ที่วัดหนึ่ง วิญญาณเปรตก็จะเดินทางไปหาหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตนที่วัดอื่น ๆ ใกล้เคียงกันต่อไป ตลอด ๗ วันนี้ จะท่องเที่ยวหาญาติพี่น้องลูกหลานของตนครบจำนวน ๗ วัด ๗ วา ถ้าไม่พบหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตน มาทำบุญอุทิศให้ ณ วัดใดวัดหนึ่งเลย วิญญาณเปรตก็นั่งร้องไห้ และสาบแช่งหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานคนนั้น ๆ (อวยฉิบหาย กะซจ กะเซ็น เฮ็นฮัย กะไม๊ยเมียน กะไม๊ยเกิดเล็ย) ให้ฉิบหาย ตกต่ำ หากินไม่รุ่งเรือง ให้อดอยาก ยากจนข้นแค้น ตกทุกข์ได้ยาก ต่าง ๆ นานาประการ ฯลฯ
เทอบ็อญอุติส ( ทำบุญอุทิศ ให้อย่างเห็นใจ ให้อย่างจริงใจ ให้อย่างคิดถึงห่วงใยอาทร ให้อย่างจงรักภักดี
ให้อย่างบริสุทธิ์ใจ )
อุทิศ แปลว่า เฉพาะเจาะจง มาจากภาษาบาลี (อุ+ทิส ) อุ = ขึ้น,นอก ทิส=มอง, แลดู, เห็น, มองเห็น อุทิศ จึงมีความหมายว่า จ้องมองเฉพาะคนใดคนหนึ่ง , มองเห็นเฉพาะบุคคล , มองเจาะจงตัวบุคคล, ยกให้เจาะจง , เจาะจงให้เฉพาะ ,ให้ความสำคัญมากที่สุดเฉพาะ อุทิศใช้คู่กับบุญ เช่น ทำบุญอุทิศ, อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล, กรวดน้ำอุทิศ, ส่วนบุญส่วนกุศลนี้อุทิศให้… , อุทิศบุญด้วยน้ำสะอาด เป็นต้น
เมื่อชาวเขมรประกอบพิธีกรรมในเทศกาลเบ็ณทม แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น
กันซง มีความหมายเต็มว่า ถือสัจจะในการทำบุญกับพระสงฆ์ ใกล้เคียงกับคำว่า กันซ็อง ตะร็องเจิ๊ด ไป ทำบุญกันที่วัด และไปแต่เช้า ๆ ทุกวัน ตลอด ๖ วัน กิจกรรมกันซงที่ประกอบเป็นวิธีการ มีการจัดสะปวกถวายพระ จัดทำกระต็วงบายดา จัดทำบายเบิ๊ดตะโบ ตักบาตร สวดดา ถือน้ำขวดกรวดน้ำสะอาด ห่อข้าวต้ม ทำขนมนมเนย และการฉลองซง
แซนโฎนตา ในวันแซนโฎนตา จะลุกจัดสถานที่แซนโฎนตา เตรียมการแต่เช้า จัดก็จัดบนบ้าน เลือกเฉพาะพื้นเรือนชั้นสูง ๆ ปูลาดชั้นล่างสุดด้วยเสื่อ ทับลงด้วยฟูกหลังใหม่ให้หันไปทางตะวันออก ด้านหัวพับฟูกเป็น ๒ ชั้น ปูผ้าขาวคลุมฟูกอีกที แล้ววางหมอนบนหัวฟูก จัดพานดอกไม้ขันธ์ ๕ วางบนฟูก จัดกระเฌอโฎนตาวางข้างซ้ายฟูก(กระเฌอใส่ของโฎนตา) พร้อมของกินของใช้ที่จำเป็นในการอยู่การดำรงชีวิต หาของป่ายาสมุนไพร (เฉพาะสมอและมะขามป้อม) เมล็ดพันธุ์ธัญญาหาร พืชพันธุ์ พันธุ์ผักพื้นบ้าน ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ที่สามารถจัดหาได้ในครัวเรือนในชุมชนและตามป่าตามทุ่งนา หวังฝากส่งให้ถึงโฎนตาจะได้นำไปปลูก ไปขยายพันธุ์ ไปกินไปใช้สอยได้ หาใส่รวมไว้ให้ครบครันในกระเฌอโฎนตา จัดตั้งซะแนน หรือ ซะปวก ๑ ซะปวก สำรับกับข้าวและน้ำดื่มสะอาดไว้ต้อนรับ เรียบตะต็วลโฎนตาวางข้างขวาฟูก จุดเทียนธูปตลอดเวลาตลอดวัน หาเสื้อผ้า ผ้านุ่งผ้าสไบผืนใหม่ ๆ สำหรับทั้งชายและหญิงสีสดไว้บนภาชนะถาดรองรับจัดวางไว้ใกล้ซะแนนแซน เมื่อญาติพี่น้องลูกหลาน เขยสะใภ้ มาจากที่ใกล้หรือที่ไกลต่างถือของกินของใช้ เสื้อผ้า อาหารสุก อาหารดิบ ผลหมากรากไม้ หรือเงินตรา ติดมือมาฝากบูชาพ่อแม่(จูนเบ็ณ/จูนโฎนตา) และแซนโฎนตา ถึงเรือนแล้วก็ขึ้นตรงไปแซนโฎนตา ช่วยกันเรียกหาบรรพบุรุษออกชื่อออกนามสกุลให้ถูกต้องให้ชัดเจนและเรียกเสียง ดัง ๆ เป็นการ ปะจุมโฎนตา หรือชุมนุมโฎนตา เพื่อ“ซีเจาะ โฮบปะซากระยาบูชา” เรียกแล้วก็กรวดน้ำให้ เรียกซ้ำกรวดซ้ำครั้งละ ๓ หน ยกส่วนบุญส่วนกุศลให้ก็ใช้น้ำโดงเลาคือน้ำมะพร้าวบริสุทธิ์ เพราะหาง่ายไม่ต้องจ่ายซื้อ ญาติพี่น้องลูกหลาน เขย สะใภ้ คนนับถือคนใหม่มาก็แซนโฎนตาอย่างนั้นทุกรอบไป แม้เจ้าบ้านเดินไปเดินมา ห่อข้าวต้มบ้าง ทำขนมบ้าง หรือทำงานอื่น ๆ อยู่ ถ้านึกได้ คิดได้ถึงบรรพบุรุษคนไหนคนใหม่ ชัดในใจว่ายังไม่เรียกหายังไม่ได้บอกกล่าวถึง ก็ขึ้นไปแซนใหม่ ซ้ำ ๆ เวียนขึ้นเวียนลงตลอดทั้งวัน ผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านหรือญาติมิตรเพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียงต่างชวนต่างช่วยกันแซนโฎนตาคนละที ขึ้นบ้านนี้ลงบ้านนั้นไปบ้านโน้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายจนเย็นค่ำ ยามไปมาหาสู่กันก็มีของฝากกัน ของแลกเปลี่ยนกัน ให้บ้านโน้น แลกบ้านนี้ เป็นขนมบ้าง ข้าวต้ม ผลไม้บ้าง อาหารบ้าง บางบ้านก็จัดหาอาหารมาทานร่วมกันด้วย
คนเฒ่าคนแก่ ผู้หลักผู้ใหญ่สอนไว้ว่า “ เมื่อออกบ้านมีเรือนแล้ว ให้ลูกจัดกระเฌอโฎนตาที่บ้านของตนด้วย เพื่อว่าตายายจะได้ไปมาหาสู่ จะได้ให้การต้อนรับ ตายายได้ ซีเจะ โฮบปะซาแล้ว จะได้ให้พร ให้หากินรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข และแต่ละบ้านจะมีผีบ้านผีเรือน เมี๊ยบาปะเตี๊ยซะแม็ง รักษาดูแลอยู่” ลูกหลานรุ่นหลังบ้านใดที่เชื่อฟังและทำตามเมื่อถึงวันโฎนตาทุกปี คนเฒ่าคนแก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ในตระกูล ก็จะพากันมาช่วยแซน ช่วยเรียกโฎนตาอย่างอบอุ่น
ลูกสะใภ้คนดีต้องจู นโฏนตา จัดของกินของใช้ เสื้อผ้า อาหารสุก อาหารดิบ ผลหมากรากไม้ หรือเงินตรา ตามความเหมาะสมไปบูชาคุณพ่อคุณแม่ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ พ่อแม่ฝ่ายตนและพ่อแม่ฝ่ายสามี การจูนโฎนตาจะกระทำก่อนวันหรือกระทำในวันแซนโฎนตาก็ใช้ได้ ที่บ้านก็จัดแซนโฎนตาปลูกฝังความดีในครอบครัว หน้าที่จูนโฎนตาก็ไม่ดูดาย
ได้เวลาเย็นพลบค่ำ ประมาณว่าวัวควายเข้าคอกแล้ว ก็พาสมาชิกในครอบครัวร่วมแซนโฎนตาสรุปใหญ่ ก่อนแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ เพื่อให้บุญกุศลมีกำลังแรงและส่งถึงโฎนตาได้มาก ๆ ทุกคนในครอบครัวก็ต้องทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายวาจาใจก่อน ด้วยการให้น้องถือพานดอกไม้ธูปเทียนกล่าวคำขอขมาลาโทษ ขอโทษขออภัยที่เคยผิดพลาดล่วงเกินพลาดพลั้งต่อพี่ น้องกับพี่ทำการขอขมาอย่างนี้ต่อ ๆ กันตามลำดับ เริ่มที่น้องสุดท้องน้องสุดท้ายก่อน เมื่อถึงพี่คนโตลูก ๆ ทุกคนก็รวบรวมสิ่งของเสื้อผ้างาม ๆ เงินทองของมีค่าของมีคุณใส่พานพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไว้บนสุดทำการขอขมาลาโทษ และมอบของบูชาคุณพ่อคุณแม่ ( ถ้าแยกครัวเรือกันแล้วจะกระทำก่อนวันโฎนตาหรือช่วงเช้าจึงควร) ขอศีลขอพรจากคุณพ่อคุณแม่ พ่อและแม่จะทำการขอขมาต่อคุณตาคุณยาย และโฎนตาตามลำดับ แล้วพากันแซนโฎนตาสรุปรอบสุดท้ายของที่บ้าน พ่อกับแม่และลูก ๆ ช่วยกันทบทวนชื่อเสียงเรียงนามของบรรพบุรุษทั้งหมด เรียกซ้ำกรวดซ้ำ ๓ หน ให้ตายายผัดเปลี่ยนสวมใส่เสื้อผ้าผืนใหม่เตรียมตัวไปรับศีลรับพรที่วัดค่ำ นี้ ทั้งบอกลูก ๆ ให้เข้าใจและช่วยกันกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้อย่างถูกต้องถูกวิธีบุญกุศลจะ ส่งถึงโฎนตาจริง ประกอบกับโฎนตามีจิตเป็นสัมมาทิฏฐิจึงรับอนุโมทนาบุญได้โดยสะดวก ด้วยคำว่า “แซนขม็อจกะไม๊ยซร็อจซรา แซนโฎนตาอ็อย ซร็อจตึกโดง” ถึงที่สุดก็เรียกถึงผีบรรพบุรุษที่ไม่รู้จัก เรียกรวม เรียกรวบ เรียกทั้งกลุ่ม เรียกตามประเภท สุดท้ายจัดห่อข้าวปลาอาหารใส่กระทงใบตอง จัดไว้เป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ โยนปจีไปนอกเรือนชาน หรือนำไปวางไว้ตามถนนหนทาง มีทางแพร่ง ทางสามแยกบ้าง ทางสี่แยกบ้าง ส่วนที่ ๒ ใส่ไว้ในกระเฌอโฎนตา ทั้ง ๒ ส่วนนี้ทำให้เพื่อฝาก เพื่อแจกแบ่งให้ทั่วถึงผีเปรตวิญญาณเร่ร่อน ผีเปรตพิกลพิการ ผีเปรตหูหนวกตาบอด “เนียะควะขะเม็น กะจอก กูดงัว” ผีเปรตขี้อาย ผีเปรตที่ไม่ใช่ญาติ ผีเปรตไม่มีญาติ มาไม่ได้ มาไม่ถึง มาไม่ทัน ไม่กล้ามา ไม่กล้าเข้าเรือน
หลังแซนอุทิศโฎนตา แล้วพ่อแม่ก็ขอพรจากโฎนตาให้พี่น้องลูกหลานปราศจากทุกข์ โศก โรค ภัย โทษ อันตราย สิ่งไม่พึงปรารถนาทั้งปวง ขอให้ครอบครัวพี่น้องลูกหลานได้ประสบสุขประสบโชค อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน หลังจากนั้นช่วยกันรื้อจัดเก็บสถานที่ เตรียมพร้อมไว้แต่กระเจอโฎนตา
นำกระเฌอโฎนตาไปวัด ฟังพระสวดมนต์อุทิศบุญกุศล ดาหรือบังสุกุลในยามค่ำคืน ช่วงจบแต่ละบทสวด ซึ่งมีหลายตอน ก็เรียกโฎนตาด้วยเสียงดัง ๆ และยกน้ำมะพร้าวกรวดน้ำให้ เป็นช่วง ๆ เสร็จแล้วกลับไปบ้าน แล้วรีบลุกขึ้นใหม่แต่ดึกประมาณหน่อยตี ๔ พร้อมบายเบ็ณ ไปวัดฟังพระสวดมนต์อุทิศ ดาหรือบังสุกุลอีกรอบทำเหมือนกับตอนเย็น ก่อนที่จะรุ่งสางจะเอากระเฌอโฎนตาไปเทในสถานที่ใกล้ตอไม้ หรือที่เหมาะสม เพื่อผีเปรตวิญญาณเร่ร่อน ผีเปรตไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ ผีเปรตขี้อาย ผีเปรตที่ไม่ใช่ญาติ ผีเปรตไม่มีญาติ มาไม่ถึง มาไม่ทัน ไม่กล้ามา ไม่กล้าเข้ากลุ่ม มารับเอาได้ แล้วเอากลับไป การจะกระเจอโฎนตาคือ การส่งวิญญาณเปรตกลับภพภูมิ
บุญสุดท้ายแห่ง เทศกาล คือ การไปวัดทำบุญตักบาตร วันเบ็ณทม จัดถือข้าวปลาอาหาร ข้าวต้ม ขนมนมเนย ทำบุญถวายพระ และมีการจดชื่อบรรพบุรุษ และผู้ล่วงลับดับชีวิตไปก่อนเพื่อทำบุญอุทิศ สวดดา อีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายของเทศกาลเบ็ณทม
เทศกาลเบ็ณทม และการแซนโฎนตา เป็นการกระทำเพื่อการอุทิศบุญกุศลให้บรรพบุรุษอย่างมีศรัทธา มีความเชื่อ ความรักความเมตตาปราณีต่อผีเปรตวิญญาณอื่น ๆ อย่างจริงใจ บริสุทธิ์ใจ อุทิศส่วนบุญให้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง ทุกระดับชนชั้น ทุกประเภท และมีคุณค่าทางสังคม ทางชุมชน ทางครอบครัว เพราะมีการแลกเปลี่ยน การแบ่งปัน การดูแลเอาใจใส่กัน การไปมาหาสู่กัน การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน บ้านใดเรือนใดทำการแซนโฎนตาได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องทุกปี จะเป็นบ้านที่มีหมู่ญาติลูกหลานและคนนับถือเป็นที่รักจำนวนมาก จะเพิ่มพูนฐานะทางสังคม จะเพิ่มพูนคุณธรรม จะเพิ่มพูนความสงบสุขร่มเย็นต่อเนื่องไป
กันซง
กิจกรรม และพิธีกรรม ที่มีการจัดสะปวกไปถวายพระ ทำกระต็วงบายดา ทำบายเบิ๊ดตะโบ ตักบาตร ถือน้ำขวดกรวดน้ำสะอาด ทำขนม ห่อข้าวต้ม ฉล็องซง ไปวัด และไปแต่เช้า ๆ ทุกวัน ตลอด ๖ วัน เริ่มตั้งแต่วันแรม ๙ ค่ำ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ รวมวันพระแรม ๘ ค่ำด้วย เป็น ๗ วัน
กันต็วงบายดา ( กระทงข้าว)
กระทง เย็บด้วยใบตอง ใส่ข้าวพร้อมกับแกงและเงินเหรียญ เอากรวยใบตวง ครอบกระทงข้าว ปักธูป ๑ ดอก กลางกรวย เป็นอาหารที่จัดแบ่งไว้เซ่นอุทิศให้ผู้ตาย ใช้ประกอบพิธีการสวดดา เปลี่ยนกระทงใบใหม่ทุกวัน ใช้ประกอบพิธี ตั้งแต่วันแรม ๑๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ รวม ๕ เช้า นำไปพร้อมกับบายเบิ๊ดตะโบ และบายเบ็ณ หรือนำไปพร้อมกันซง ( แต่ละพื้นที่ยังต่างกัน) ใส่ในกระเจอโฎนตาก็ใช่
สวดดา
สวดดา คือ การสวดมนต์บทต่าง ๆ ที่ใช้ในงานอวมงคล เกี่ยวกับงานศพ งานทำบุญอุทิศ หรือบังสุกุล และมีการจัดทำกระต็วงบายดา หรือ บายเบิ๊ดตะโบ หรือ บายเบ็ณ ประกอบไว้ด้วย ตลอดเทศกาลเบ็นทมจะสวดจำนวน ๗ ครั้ง คือ เช้ามืด วันแรม ๑๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ ค่ำวันแรม ๑๔ ค่ำ และ เช้าวันพระเบ็ณทม ( เวลาและจำนวน มีการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละพื้นที่)
บายเบิ๊ดตะโบ
ข้าว เหนียวหุง ปั้นเป็นก้อนขนาดใหญ่หัวแม่มือเล็กน้อย จัดเรียงต่อ ๆ กันไว้ในพานเป็นเนินข้าว โรยงาบด ปิดด้วยกรวยใบตอง ปักธูป ๑ ดอก นำไปวัดรอบแรกแต่เช้ามืดทุกเช้า เพื่อนิมนต์พระสงฆ์สวดดา นำไปพร้อมกระต็วงบายดา อุทิศบุญแล้วกลับมาบ้าน เริ่มวัน แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ - วัน แรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ จำนวน ๔ เช้า/วัน
ห่อข้าวต้ม ทำขนมฉล็องซง
วันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๑๐
เจริญพระพุทธมนต์ฉล็องซง
ค่ำคืนวันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๑๐
ฉล็องซง
เช้าวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐
จูนโฎนตา / จูนเบ็ณ
จูน ตรงกับคำว่า ส่ง มีความหมายว่า เอาไปส่ง , เอาส่งให้ ,เอาไปส่งให้ หมายถึง การที่ลูกหลาน เขย สะใภ้ นำสิ่งของ ของกิน ของใช้ เงินทอง เสื้อผ้า มอบให้หรือบูชาคุณพ่อคุณแม่ เป็นเหตุให้มีการหยุดงาน ลางาน เพื่อกลับเยี่ยมบ้าน ไหว้พ่อแม่ ไหว้ตายาย พบปะพี่น้องลูกหลาน ทานข้าวร่วมกัน ทำบุญร่วมกัน ทำกันได้ตลอดเทศกาลเบ็ณทม กระทำกันก่อนวันหรือในวันแซนโฎนตาก็ใช้ได้
กร็านบ็อน กร็านปูก กร็านเท็ดซอ เรียบเขนย
เวลา เช้าก่อนจะทำสิ่งอื่น ในวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐
เรียบกระเฌอโฎนตา
หา ของป่า เมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์ผักสวนครัวต่าง ๆ อาหาร ขนม ข้าวต้ม ของใช้อื่น ๆ หามาใส่กระเจอโฎนตา หาใส่ได้เรื่อย ๆ ทั้งวัน ของป่า ๒ อย่าง มีสมอและมะขามป้อม เมล็ดพันธุ์ เช่น พันธุ์ข้าว พันธุ์แตง ถั่ว งา ต่าง ๆ พันธุ์พืช เช่น อ้อย พันธุ์ผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ตระเพรา โหระพา ใช้ขยายพันธุ์หรือประกอบอาหาร เช่น พริก หอม กระเทียม ผักประกอบอาหาร เช่น ฝัก แฝง แตง ของใช้อื่น ๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เงิน
เรียบตะต็วล ( จัดสำรับไว้ต้อนรับ)
ต้อนรับด้วยข้าวปลาอาหารหวานคาว และน้ำดื่มสะอาด จัดสำรับที่บ้าน เรียกหมู่ญาติที่รู้จักและไม่รู้จัก
เรียบซะแนน หรือ เรียบซะปวก ( สำรับ)
สำรับ ที่จัดใส่อาหารหวานคาว และน้ำดื่มสะอาด จัดผลไม้ด้วยเป็นความนิยมใหม่ จัดไว้เป็นชุด ซะแนน นับเป็นเครื่องเซ่นไหว้ มีไว้ให้ ให้แบบทิ้งขว้างได้ ส่วนซะปวก ถือเป็นสำรับที่ให้การต้อนรับอย่างมีเกียรติ และบูชาคุณ ซะปวก เป็นได้ทั้งคำนาม และลักษณะนาม
ห่อข้าวต้มเบ็ณทม
วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ หลังจากกลับจากการฉล็องซงแล้ว
แซนโฎนตา
วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ ใช้ โดงเลา น้ำมะพร้าวบริสุทธิ์
สวดกระเฌอโฎนตา
ค่ำคืนวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐
บายเบ็ณ
ข้าว เหนียวหุง ปั้นเป็นก้อนขนาดใหญ่หัวแม่มือเล็กน้อย จัดเรียงต่อ ๆ กันไว้ในพานเป็นเนินข้าว โรยงาบด ปิดด้วยกรวยใบตอง ปักธูป ๑ ดอก นำไปวัดรอบแรกแต่เช้ามืดวันสุดท้าย เพื่อนิมนต์พระสงฆ์สวดดา นำไปพร้อมกระต็วงบายดา อุทิศบุญแล้วจะกระเฌอโฎนตา ในแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐ จำนวน ๑ ครั้ง
บายสะบะแซร / สะบะซร็อว ( เอาข้าวที่ผ่านพิธีกรรมไปหว่านลงในนาข้าว )
ข้าว เหนียวที่ปั้นเป็นก้อน ๆ บายเบิ๊ดตะโบก บายเบ็ณ ที่ผ่านการสวดดาที่วัดในช่วงเช้ามืดทุกเช้าแล้วนั้น เป็นข้าวที่โฎนตาได้ให้พรแล้ว เป็นสิ่งมงคล ก็นำกลับมาโปรย มาหว่านในนาข้าว ด้วยความปรารถนาให้ข้าวสวยงาม ไม่เป็นโรค ให้ออกดอก ใส่เม็ดเต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือนำไปโปรยในสวน ด้วยความปรารถนาดีต่อพืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงามเติบโต แข็งแรง เมื่อปรารถนาดีในสิ่งใด ๆ ก็หว่านลงในที่นั้น ๆ เป็นกำลังใจในการทำมาหากิน
ป้ายกำกับ:
แซนโฎนตา,
ท่องเที่ยว,
ประเพณี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Photo Albums
ททท. จัดทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยว 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
ททท. จัดทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยว 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น