Walking around Thailand,Nature-lovers trip,Information about tourism, สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย,เที่ยวแบบคนรักธรรมชาติ,ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยว,ท่องเที่ยว, ทัวร์, travel, travel guide, travel tips, travel packages, travel information, travel agency

20 สิงหาคม, 2552

เที่ยวลงใต้ไปที่สุราษฏร์ธานี





อุทยานแห่งชาติเขาสก
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม และอำเภอคีรีรัฐนิยม มีพื้นที่ 461,712 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2537 สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาดิน และภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อน มีแนวหน้าผาสูงชัน ด้านทิศเหนือเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา มีป่าไม้และสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้หายากที่พบในเขตอุทยานฯ ได้แก่ ปาล์มหลังขาว และ บัวผุด เป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10-25 นิ้ว ขึ้นอยู่บนพื้นดิน จะบานในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ส่วนสัตว์หายากที่น่าสนใจ ได้แก่ กบทูด และ ปลามังกร ช่วงเวลาที่เหมาะจะเดินทางมาท่องเที่ยวคือ เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นอุทยานฯ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การล่องแก่ง เดินป่า นั่งช้าง ดูนก และเดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ



อุทยานฯ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

วังยาว น้ำตกบางหัวแรด และน้ำตกวิ่งหิน น้ำตกบางหัวแรด เป็นน้ำตกสองชั้นที่สวยงามแต่ไม่สูงมาก ชั้นแรกไหลจากบางหัวแรดลงสู่คลองสก ชั้นที่สองอยู่ในคลองสก มีน้ำไหลตลอดปี ห่างลงมาประมาณ 120 เมตร มีน้ำตกวิ่งหินไหลลงมาบรรจบเหนือขึ้นไป 40 เมตร มีวังสำหรับเล่นน้ำ เรียกว่า “วังยาว” อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน 3 กิโลเมตร



ตั้งน้ำ มีลักษณะเป็นภูเขาที่ถูกน้ำกัดเซาะจนขาดออกจากกัน ทำให้กลายเป็นหน้าผาหันหน้าเข้าหากัน มีลำคลองสกไหลลอดผ่านเบื้องล่าง อยู่ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากน้ำตกวิ่งหินประมาณ 3.2 กิโลเมตร ต้องเดินทางโดยทางเท้า

น้ำตกโตนกลอย เกิดจากคลองสก เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีลานหินสำหรับพักผ่อนบนชั้นน้ำตก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 9 กิโลเมตร

น้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกที่ไม่สูงนัก อยู่ในลำคลองสก ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 11 กิโลเมตร ห่างจากน้ำตกโตนกลอย ประมาณ 2 กิโลเมตร

น้ำตกธารสวรรค์ ไหลลงมาจากหน้าผาชัน พุ่งโค้งแบบรุ้งกินน้ำ ไหลลงสู่คลองสก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากตั้งน้ำประมาณ 3 กิโลเมตร

น้ำตกสิบเอ็ดชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 4 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันมาตามร่องหน้าผา เป็นรูปขั้นบันได 11 ขั้น ชั้นล่างสุดของน้ำตกจะมีแอ่งน้ำสำหรับลงเล่นน้ำได้ ต้องเดินทางโดยทางเท้า

น้ำตกแม่ยาย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 4.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียวสูงประมาณ 30 เมตร รถยนต์สามารถไปถึงได้ ตั้งอยู่ริมถนนสายสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า บริเวณกิโลเมตรที่ 113

อุทยานฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง คือ

เส้นทางที่ 1 น้ำตกบางหัวแรด-น้ำตกโตนกลอย เริ่มเดินจากที่ทำการอุทยานฯ ข้ามคลองบางเลนไปน้ำตกบางหัวแรด ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตก 2 ชั้น ไม่สูงมากนัก เดินเลียบคลองสก ผ่าน น้ำตกวิ่งหิน อยู่ห่างไป 120 เมตร มีความสูงประมาณ 20 เมตร ไหลสู่คลองสก เดินทางต่อไปตามเส้นทางเดินเท้าเลียบคลองสกผ่านวังยาว ห่างประมาณ 40 เมตร เป็นวังน้ำลึก เดินเท้าขึ้นภูเขาเตี้ย ๆ ข้ามคลองสก มีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะพบ น้ำตกธารสวรรค์ เป็นน้ำตกที่ไหลสู่คลองสก มีลักษณะเป็นแนวโค้งคล้ายแนวรุ้งกินน้ำ จากนั้นเดินเลียบคลองสกไปอีก 2 กิโลเมตร จะถึงตั้งน้ำหรือต้นน้ำ เป็นภูเขาซึ่งถูกน้ำเซาะจนกลายเป็นหน้าผาหันหน้าเข้าหากัน มีลำคลองสกลอดผ่าน เบื้องล่างเป็นวังน้ำลึก ซึ่งเป็นสถานที่ลอยเถ้าอังคาร (เถ้ากระดูก) ของท่านพุทธทาส จากตั้งน้ำเดินเท้าปีนเขา ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงน้ำตกโตนกลอย เป็นน้ำตกชั้นเดียว เกิดจากลำคลองสก มีน้ำไหลแรงตลอดปี ตลอดเส้นทางมีความยาว 9 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินได้เอง เส้นทางเดินไม่ลำบาก

เส้นทางที่ 2 น้ำตกสิบเอ็ดชั้น เป็นเส้นทางที่ต้องปีนภูเขาสู่น้ำตกสิบเอ็ดชั้น ระยะทางเดิน 4 กิโลเมตร เส้นทางเดินค่อนข้างชัน สามารถเดินเองได้ ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง น้ำตกสิบเอ็ดชั้น เกิดจากคลองบางเลน เป็นน้ำตกรูปขั้นบันได มี 11 ชั้น

เส้นทางที่ 3 เป็นเส้นทางเดินที่ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกสิบเอ็ดชั้น แต่เป็นเส้นวงกลม มีทางเดินเป็นขั้นบันได ตามเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมาย สามารถเดินเองได้ ระยะทาง 2 กิโลเมตร

ที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักบริการ 4 หลัง แต่ไม่มีเต็นท์ให้เช่าต้องนำไปเอง เสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ คนละ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาสก หมู่ที่ 6 ตำบลคลองสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. 0 7729 9151, 0 7729 9318-9 ต่อ 5715, 0 7729 9150-1 และใกล้ที่ทำการอุทยานฯ มีที่พักของเอกชนบริการหลายแห่ง บางแห่งเป็นบ้านบนต้นไม้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของที่พักบริเวณอุทยานฯ นี้

การเดินทาง
จาก ตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า (ทางหลวงหมายเลข 401) ถึงกิโลเมตรที่ 109 มีแยกขวาไปอีก 1.5 กิโลเมตร ถึงบริเวณที่ทำการอุทยานฯ หรือจากสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี มีรถประจำทางสายพุนพิน-ภูเก็ต ลงรถบริเวณกิโลเมตรที่ 109 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้เตรียมอาหารหรือเสบียงในการพักค้างแรมที่ อุทยานฯ สามารถจะหาซื้อของใช้ได้ที่บริเวณบ้านตาขุน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีร้านค้าหลายแห่งก่อนเดินทางไปอุทยานฯ ได้




อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติปากคลองน้ำเฒ่า อำเภอบ้านนาสารและอำเภอเวียงสระ สถานที่สนใจ ได้แก่ น้ำตกตาดฟ้า ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง ๓๓ กิโลเมตร ตามเส้นทางสุราษฎร์-บ้านนาสาร แล้วเลี้ยวเข้าน้ำตก อีก ๑๓ กิโลเมตร น้ำตกเหมืองทวด ใช้เส้นทางบ้านนาสาร-บ้านส้อง-บ้านช่องช้าง รวมระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร จากอำเภอบ้านนาสาร

13 สิงหาคม, 2552

เที่ยงปราจีนบุรีหน้าฝนนี้







น้ำตกเขาอีโต้และอ่างเก็บน้ำจักรพงษ์
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๒ กิโลเมตรจากตัวเมืองออกมาสามแยกถนนใหญ่แล้วเลี้ยวขวาไปทางอรัญ ประเทศ ไม่ไกลนักก็จะ พบทางแยกซ้ายมือเข้าสู่น้ำตกอีก ๒ กิโลเมตร น้ำตกเขาอีโต้มีลักษณะเป็นลำธารไหล ผ่านแก่งหินใหญ่น้อย แต่ปัจจุปันจะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝน และต้นฤดูหนาว เท่านั้น ทางเดียวกับทางเข้าน้ำตก จะผ่านอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนและสามารถลงเล่นน้ำได้



อุทยานแห่งชาติทับลาน
อ. นาดี จ. ปราจีนบุรี
รายละเอียด
อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตป่าลานที่อุดมสมบูรณ์มีขึ้นอยู่กระจายทั่วๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ป่าลานได้ถูกบุกรุกทำลายลงไปมาก จนปัจจุบันคงเหลือป่าลานแห่งสุดท้าย คือ บริเวณบ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ และบ้านวังมืด จังหวัดปราจีนบุรี ในการไปตรวจสอบสภาพป่าลานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2517 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ พบว่า ป่าลานในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าลานแห่งสุดท้ายของประเทศเพื่ออนุรักษ์ป่าลาน ไว้ จึงมีดำริให้จัดตั้งป่าลานนี้เนื้อที่ประมาณ 36,250 ไร่ หรือ 58 ตารางกิโลเมตร เป็นวนอุทยาน และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติให้ดำเนินการวางแผนปฏิบัติการที่ป่าลานกบินทร์บุรี ซึ่งสำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งที่ 169/2518 ลงวันที่ 11 เมษายน 2518 และคำสั่งที่ 194/2518 ลงวันที่ 15 เมษายน 2518 ให้ นายสุชล ผาติเสนะ นักวิชาการป่าไม้ตรี และ นายยัณห์ ทักสูงเนิน พนักงานประจำเขต โดยอยู่ในความควบคุมการดำเนินงานของนายไพโรจน์ เชี่ยวเอี่ยมวัฒนา นักวิชาการป่าไม้โท ไปดำเนินการรังวัดหมายแนวเขต และจัดพื้นที่ปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานป่าลาน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแก่งดินสอ-แก่งใหญ่-เขาสะโตน จังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2383/2520 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2520 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตรี นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานทับลาน และในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้วนอุทยานทับลานสำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อผนวกพื้นที่บริเวณใกล้เคียงแนวเขตติดต่อวนอุทยาน ยกฐานะวนอุทยานทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจปรากฏว่า บริเวณป่าดังกล่าวโดยรอบมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุมเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำมูล ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0708(ทล.)/16 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้จึงเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้ำเขียวและป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 39 ของประเทศ

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 อนุญาตให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานบริเวณป่าวังน้ำ เขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำมูลบน เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ 2,625 ไร่ หรือ 4.20 ตารางกิโลเมตร โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ส่วน นี้ออก และในปี 2532 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว ป่าครบุรี ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน บางส่วนในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติตามที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกาเดิมปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 106 ตอนที่ 107 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2532

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนต่อเนื่องกัน เป็นบริเวณกว้างขวาง โดยมีเขาที่สำคัญหลายลูก เช่น เขาละมั่ง เขาภูสามง่าม เขาภูสูง เขาใหญ่ เขาวง เขาสลัดได เขาทิดสี เขาไม้ปล้อง เขาทับเจ็ก และเขาด่านงิ้ว ซึ่งยอดเขาละมั่งเป็นยอดเขาที่สูงสุด มีระดับความสูงประมาณ 992 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องกันทำให้มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยปลาก้าง ห้วยคำแช ห้วยคำขี้แรด ห้วยมูลสามง่าม ห้วยภูหอม ห้วยกระทิง ห้วยลำเลย ห้วยกุดตาสี ห้วยลำดวน เป็นต้น ลำห้วยแต่ละสายไหลรวมกันเป็นแม่น้ำมูล ส่วนลำห้วยสวนน้ำหอม ห้วยหินยาว ห้วยชมพู ห้วยสาลิกา ห้วยวังมืด ห้วยลำไยใหญ่ ฯลฯ ลำห้วยเหล่านี้จะไหลรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติทับลาน ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดมาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนมาก เฉลี่ยตลอดปี 1,070 มิลลิเมตร ฝนจะตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน ซึ่งเทือกเขาพนมดงรักจะปะทะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และทำให้ฝนตกในบริเวณด้าน รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมากราคม อากาศจะหนาวเย็นมากในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ำสุด 22.8 องศาเซลเซียส ฟดูร้อนเริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวมากในเดือนเมษายนซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 29.3 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.7 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติทับลาน มีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มากสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง จัดเป็นสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษระทางนิเวศของป่าภาคกลางและป่าภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุกชุม

ป่าเต็งรัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ขาดแคลนแหล่งน้ำ มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจายทั่วพื้นที่และมักจะมีลำต้นเล็กและเตี้ย พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพ็ก หญ้าคา และสาบเสือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ

ป่าเบญจพรรณ จะมีไม้ต่างชนิดขึ้นปะปน และจะพบไผ่ขึ้นปนมากมาย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น แดง ตะแบกใหญ่ ประดู่ มะกอก ชิงชัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่สำคัญ เช่น ไผ่กาย โด่ไม่รู้ล่ม เป็นต้น ป่าผลัดใบเหล่านี้ในช่วงฤดูฝนไม้พื้นล่างจะผลิใบอ่อนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของ สัตว์กินพืช ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า และนกที่อาศัยพื้นที่นี้ได้แก่ ไก่ป่า เหยี่ยวชิครา นกแขกเต้า นกหัวขวาน สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด และแย้ เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400-1,000 เมตร และ ป่าดงดิบแล้ง จะพบขึ้นอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างราบ ไม้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ยางนา ยางแดง เป็นต้น จากลักษณะเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันนั้นจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชะนีมือ ขาว ชะนีมงกุฎ ค่างหงอก ลิงกัง พญากระรอกบินหูแดง และจากสภาพป่าที่มีความรกทึบเป็นที่หลบพักและซ่อนตัวของสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างป่า กระทิง นกป่าที่หากินและดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกมูม นกลุมพู นกเค้าเหยี่ยว นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกก นกพญาปากกว้างสีดำ นกพญาปากกว้างหางยาว นกขุนแผนหัวแดง และนกขุนทอง สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ ตะกวด เต่าใบไม้ เต่าเหลือง และตะกอง เป็นต้น

นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติทับลานยังมีป่าอีกชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นประเภทป่าผลัดใบ ป่าชนิดนี้ถูกเรียกว่า “ป่าลาน” สภาพจะเป็นป่าโปร่ง มีลานขึ้นอย่างหนาแน่นทั่วพื้นที่ ป่าลานนี้มีเนื้อที่ 200 ไร่ บริเวณที่ราบบนเขาละมั่ง ด้านตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ไม้ลานเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Palmae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corypha lecomtei Becc. บริเวณป่าลานและป่ารุ่นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สามารถปรับตัว อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ กระรอก หนู กระต่ายป่า พังพอน เก้ง กวางป่า เหยี่ยวขาว นกคุ่มอกลาย กิ้งก่าหัวแดง ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหางยาว อึ่งอ่างบ้าน และคางคก เป็นต้น

บริเวณเขาหินปูน ถ้ำ หน้าผา ซึ่งได้แก่บริเวณเขาละมั่ง เขาวง และภูสามง่าม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และที่กำบังภัยของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เลียงผา เม่นหางพวง และค้างคาว เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำ ห้วย ลำธาร เป็นย่านที่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดได้แก่ งูปลิง กบหงอน เขียดอ่องเล็ก นกยางไฟธรรมดา นกยางเขียว นกกระเต็นธรรมดา นกกระเต็นใหญ่ธรรมดากำกวม และนกกระเต็นลาย ปลาน้ำจืดที่พบ เช่น ปลาชะโอน ปลาดุกเนื้อเลน ปลากระสง ปลาดัก และปลากระทิงดำ เป็นต้น

การเดินทาง
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน อยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 197 กิโลเมตร จากสี่แยกกบินทร์บุรีใหม่ ตามถนนสายกบินทร์บุรี - โคราช เดินทางประมาณ 32 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน




แก่งหินเพิง

ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแหน อำเภอนาดี เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ที่สวยงามอยู่ในลำน้ำใสใหญ่ อยู่ในเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 9 (ใสใหญ่) อำเภอนาดี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่เหมาะแก่การล่องเรือยางที่ท้าทาย และสนุกสนาน ในช่วงฤดูฝนราวเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำหลาก ล้นแก่ง และไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ เหมาะสำหรับการล่องแก่งหินเพิง หากพ้นช่วงฤดูฝนไปแล้วแก่งหินเพิงนี้จะกลายเป็นลานโขดหินกว้างใหญ่ การล่องแก่งหินเพิงจะผ่านแก่งต่าง ๆ ได้แก่ แก่งหินเพิง แก่งวังหนามล้อม แก่งวังบอน แก่งลูกเสือ แก่งวังไทร แก่งงูเห่า ใช้ระยะเวลาในการล่องแก่งประมาณ 45 นาที นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมในบริเวณอุทยานฯ และมีร้านค้าสวัสดิการเปิดให้บริการ หรือติดต่อบริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรมในการล่องแก่งหินเพิง และสามารถพักค้างแรมแบบแค้มปิ้ง หรือพักรีสอร์ทในเขตอำเภอนาดีได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลางเขต 8 กลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ
เลขที่ 182/88 หมู่ 1 ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000
โทรศัพท์ 0-3731-2282, 0-3731-2284 โทรสาร 0-3731-2286 www.tat8.com

การเดินทาง
การเดินทางไปแก่งหินเพิง นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3452 โดยเริ่มจากตัวเมือง ปราจีนบุรี (ปราจีนบุรี-ประจันตคาม) ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 33 แล้วเลี้ยว ขวาตรงไปทางอำเภอกบินทร์บุรี ก่อนถึงอำเภอกบินทร์บุรีจะมีทางสามแยก ให้ตรงไปอีกเล็กน้อยจะเห็นปั๊มน้ำมัน ปตท. และโรงเรียนวัดสระคู่ จะมีถนนเล็ก ๆ ที่ติดกับโรงเรียน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร

การเดินทางต่อไปยังแก่งหินเพิงนั้นมี 2 ทางด้วยกัน คือ เมื่อถึงสามแยกบริเวณที่บอกว่าแก่งหินเพิง 7 กิโลเมตรแล้ว ให้เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางสายเก่าไม่ไกลนัก ก็จะถึงริมน้ำแล้วข้ามฟากไปอีกฝั่งหนึ่ง แต่ถ้าหากจะไปทางเส้นทางสายใหม่ เพื่อพบป้ายแก่งหินเพิง 7 กิโลเมตรแล้ว ให้เลี้ยวขวาแล้วจะพบสี่แยกแรกแล้วเลี้ยวซ้ายไป ตามเส้นทางผ่านหมู่บ้านข้ามลำธารแล้วไปสิ้นสุดการเดินทางที่หน่วยพิทักษ์ป่าขญ. 9 หลังจากนั้นให้เดินไปตามเส้นทางเดินป่าอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงแก่งหินเพิง

สถานที่ให้บริการล่องแก่งหินเพิง

1. แก่งหินเพิงแค้มปิ้ง โทร. (037) 405608, 405611, (081) 633-2777, (081) 633-2775
2. ฟูจิทัวร์ โทร. (02) 918-9974, 918-9804, 918-6067-8, 918-6294
3. วังตะพาบ โทร. (037) 281315, (081) 946-9133
4. สวนศักดิ์สุภา โทร. (037) 282035, 281507 หรือ (081) 454-0076
5. แค้มปิ้งไซด์ เซ็นเตอร์ โทร. (02) 433-2760, 435-3907



บ้านผางาม รีสอร์ท
บ้านพักแห่งการผจญภัย
ที่นี่ บางครั้งเราเรียนรู้ว่า สิ่งที่เรา " ทำไม่ได้ " อาจหมายถึง สิ่งที่เรา "คิดว่าทำไม่ได้ " หรือ " ยังไม่ได้ ลองทำ " ดัง นั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ผู้มาพักเพื่อชมความเป็นธรรมชาติ... สัมผัสความอบอุ่น... และร่วมผจญภัย กับเรา จะได้บางสิ่งติดตัวกลับไป เสมอ... และบางครั้งก่อให้เกิด " ก้าวสำคัญ " ในใจคุณ

201 หมู่ 4 ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี 25220
Tel : 0 3728 2797 (6 คู่สายอัตโนมัติ)
Fax : 0 3728 2799
www.pangam.com

สำนักงานกรุงเทพฯ
64 ซอย 52 ถ.จรัญสนิทวงศ์ บางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ 10700
Tel : 0 2424 3476 , 0 2433 4884 , 0 2883 5043 , 0 2883 5160-1
Fax : 0 2883 4547
EMail : mail@pangam.com



น้ำตกธารทิพย์
อ. ประจันตคาม จ. ปราจีนบุรี
อยู่ห่างจากที่ทำการป่าไม้จังหวัด หน่วยธารทิพย์ ประมาณ 13 กม. เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ไม่สูง สายน้ำไหลตกลงมารวมกันแห่งเดียว ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนเล่นน้ำ ด้านข้างเป็นหินตัดยกระดับสูง พื้นผิวราบเรียบ ใช้เป็นที่ปิกนิคพักผ่อนได้สะดวก

11 สิงหาคม, 2552

เที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพขรบุรี





อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ ไทย มีพื้นที่ถึง 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขต อุทยานฯ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจาน มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ



สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
ทะเลสาบ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร มีเกาะกลางแม่น้ำอยู่มากมายหลายเกาะ นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะล่องเรือชมทิวทัศน์เพื่อพักผ่อน หรือตกปลาน้ำจืดในทะเลสาบก็สามารถเช่าเรือได้ที่ร้านอาหาร หรือชมรมเรือที่อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ



เขาพะเนินทุ่ง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ในเขตประเทศไทยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 50 กิโลเมตรเป็นภูเขาสูง มีบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้ากว้าง ในระดับความสูง 960 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าชุกชุม มีทิวทัศน์งดงาม จากยอดเขาสามารถเห็นทะเลหมอกในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว การเดินทางต้องใช้เวลา 2 วัน พักค้างแรม 1 คืนระหว่างทาง และติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง อาหารและเต็นท์สำหรับพักค้างแรมไปเอง

พะเนินทุ่งแคมป์ หรือ กม. 30 เป็นจุดชมวิวที่สามารถชมทะเลหมอกในตอนเช้าได้สวยจุดหนึ่ง และสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ การเดินทางต้องใช้รถที่มีกำลังสูง สามารถเหมารถปิกอัพได้จากบริเวณที่ทำการอุทยานฯ เนื่องจากถนนค่อนข้างแคบ อุทยานฯ จึงได้กำหนดเวลาในการขึ้น-ลง คือ เวลาขึ้น ช่วงเช้า 05.00-09.30 น. ช่วงบ่าย เวลา 14.30-15.00 น. เวลาลง ช่วงเช้า 12.00-13.00 น. ช่วงบ่าย 16.30-18.00 น. สำหรับผู้ที่ต้องการจะขึ้นเขาพะเนินทุ่งต้องติดต่อที่ศูนย์บริการนักท่อง เที่ยวเพื่อขอใบอนุญาตผ่านทาง โดยเสียค่าธรรมเนียม คือ ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถยนต์สี่ล้อ 30 บาท รถกระบะ 40 บาท รถตู้ 50 บาท รถยนต์มากกว่าสี่ล้อ 70-80 บาท และผู้ที่ต้องการจะขึ้นเขาพะเนินทุ่ง เวลา 05.00 น. ต้องทำใบขออนุญาตล่วงหน้า 1 วัน

น้ำตกทอทิพย์ อยู่ห่างจากเขาพะเนินทุ่ง 15 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์ และเดินทางเท้าเข้าถึงตัวน้ำตกประมาณ 4 กิโลเมตร มีความสูง 9 ชั้น ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่สวยที่สุด แต่ละชั้นสวยงามแปลกตา สภาพโดยรอบเป็นป่าไม้ร่มรื่น ทั้งนี้การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนป่า ควรขอคำแนะนำและคนนำทางจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ก่อน นอกจากนี้ รถยนต์ที่ใช้ต้องมีกำลังเครื่องดีเพราะเส้นทางผ่านหุบเขาลาดชัน

เส้นทางดูนก – ผีเสื้อ จะเริ่มจากที่กิโลเมตรศูนย์คือ บริเวณด่านตรวจเขาสามยอดถึงกิโลเมตรที่ 18 จะพบผีเสื้อได้ตามสองข้างทางตามโป่งดินกิโลเมตรที่ 10 –12 และจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถดูนกได้คือ บริเวณตั้งแต่อ่างเก็บน้ำห้วยสามยอด เลยด่านตรวจมาไม่ไกล ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำนานาชนิด ส่วนเส้นทางศึกษาธรรมชาตินั้นนับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 18 ขึ้นไป และบริเวณกิโลเมตรที่ 18-27 อาจจะพบเห็นนกกระลิงเขียดหางหนาม ซึ่งเป็นนกที่พบในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่เดียวในประเทศไทย

แค้มป์บ้านกร่าง เป็นจุดพักค้างแรมกางเต็นท์ สำหรับผู้สนใจดูนก และผีเสื้อเนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย อยู่บริเวณกม.15 มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง มีไม้ที่พบมากคือ ไม้ตะเคียนทอง ไม้ยาง ไม้มะค่าโมง ไม้หอมหรือไม้กฤษณา และเป็นป่าที่ชุ่มชื้นจึงมีเฟิร์น กระโถนฤาษี หนุมาน หวาย ขึ้นอย่างสมบูรณ์และยังมีสัตว์ป่ามากมายเช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เก้ง กวาง หมีและสัตว์ป่าสงวน เช่น เลียงผา เก้งหม้อ สมเสร็จ และแมวลายหินอ่อน มีผีเสื้อมากกว่า 150 ชนิดให้ศึกษา โดยเฉพาะในหน้าแล้งจะเห็นฝูงผีเสื้อลงไปกินดินโป่งเป็นจำนวนมาก และราวเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน จะพบนกได้หลายชนิดสร้างรังวางไข่เลี้ยงลูกอ่อน เช่น นกกก นกกาฮัง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของป่าดงดิบ บริเวณบ้านกร่างมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง คือ

น้ำตกปราณบุรี มี 5 ชั้น เป็นน้ำตกเล็ก ๆ อยู่ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ กจ. 4 ประมาณ 7 กิโลเมตร

น้ำตกแม่สะเลียง มี 3 ชั้น เป็นน้ำตกสายเล็ก ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทาง 3 วัน 2 คืน รอบ ๆ น้ำตกยังเป็นป่าที่สมบูรณ์ร่มรื่น

ถ้ำหัวช้าง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ กจ.4 ไปทางทิศตะวันออก 1 กิโลเมตร ระยะทางเดินเท้าเข้าไปถ้ำประมาณ 200 เมตร เป็นถ้ำหินปูนภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยมีลักษณะคล้ายหัวกระโหลกช้าง

ถ้ำเขาปะการัง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์ฯ กจ. 4 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 3 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยดูสวยงาม

เขาปะการัง เป็นภูเขาหินปูนสีเทาอมน้ำเงิน มีหน้าผาให้ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม ประกอบด้วยป่าไม้เขียวขจีและภูเขาสลับซับซ้อน

ที่พัก
อุทยาน แห่งชาติแก่งกระจาน มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว และมีสถานที่กางเต็นท์บริเวณอ่างเก็บน้ำ บริเวณเขาพะเนินทุ่ง และบริเวณแค้มป์บ้านกร่าง อุทยานฯ มีเต็นท์ให้เช่าราคาหลังละ 100 บาท/คืน ค่าธรรมเนียมในการใช้สถานที่กางเต็นท์ 30 บาท/คืน บ้านพัก ราคาตั้งแต่ 400 - 1,200 บาท/คืน

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่
สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม. 10900
โทร. 0-2579-7223 , 0-2561-2919
หรือ ติดต่อที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โทร.032-459291



การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถึงอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านแยกเข้าตัวเมืองเพชรบุรี จะถึงสี่แยกท่ายาง เลี้ยวขวาเข้าอำเภอท่ายาง จากนั้นวิ่งไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ตามทางหลวงหมายเลข 3499 ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอแก่งกระจาน จากปากทางเข้าอุทยานฯ อีก 4 กิโลเมตรจะถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง จะมีรถสายกรุงเทพฯ-ท่ายาง ลงที่ตลาดท่ายาง จากนั้นต่อรถสองแถวไปตลาดแก่งกระจาน และต่อรถรับจ้างหรือจักรยานยนต์ไปอีก 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

10 สิงหาคม, 2552

เที่ยวป่าหน้าฝนที่นครนายก








วังตะไคร้
ช่วงที่เหมาะในการล่องแก่งจะเริ่มประ มารเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม โดยเริ่มจากบริเวณเชิงสะพานวังตะไคร้แรือเชิงสะพานท่าด่าน เรื่อยมาตามลำน้ำนครนายก ผ่านเกาะแก่งต่างๆ ( แก่งที่น้ำเชี่ยวที่สุด คือ แก่งสามชั้น ) และยังมีจุดนำเรือขึ้นฝั่งและออกมายังถนนใหญ่ได้หลายจุด เช่น ที่บ้านดง แก่งสามชั้น วังกุตภา และวังยาง ระยะทางในการล่องแก่งแต่ละช่วงประมาณ 2-7 กิโลเมตร การล่องแก่งเป็นการท่องเที่ยวที่ผสมผสานไปกับกีฬาทางน้ำที่สนุกตื่นเต้นและ ท้าทาย เป็นการพักผ่อนและออกกำลังกายที่มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติโดยการพายเรือ แคนู


วังตะไคร้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ อยู่ในความดูเเล ของมูลนิธิจุมภฏ-พันธ์ทิพย์บริพัตร ภายใน ตกแต่งด้วย ไม้ดอก ไม้ประดับ นานาพันธุ์ ในเนื้อที่ ๑,๔๐๐ ไร่ มีธารน้ำ ที่ไหลมาจากน้ำตก ซอกซอน ผ่านโขดหิน น้อยใหญ่ เหมาะแก่การเล่นน้ำ มีที่พัก และที่ตั้งแคมป์ สำหรับนักท่องเที่ยว ในระดับราคาต่างๆ สอบ ถามรายละเอียด โทร. 245-4934



น้ำตกนางรอง เป็นน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองห่างจากตัวเมืองไปทาง ทิศตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3049 ทางลาดยางตลอดสาย จากตัวเมือง มีรถโดยสารสาย นครนายก-นางรอง วิ่งวันละหลายเที่ยว เป็นน้ำตกที่ลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ ไม่สูงนัก แต่ละชั้นมีอ่างเก็บน้ำขนาดย่อม เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำเป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัด บริเวณด้านล่างของน้ำตกมีห้องอาบน้ำและห้องสุขาบริการ การเข้าชมน้ำตกนางรอง นักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าบำรุงสถานที่ดังนี้ รถยนต์โดยสาร (รวมบุคคล) 80 บาทรถยนต์เล็ก (ไม่รวมบุคคล) 8 บาทจักรยานยนต์ 6 บาท บุคคล คนละ 2 บาท

กลับสู่ด้านบน





น้ำตกกะอาง ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จากตัวเมืองไปตามถนนสุวรรณศรถึงอำเภอบ้านนา เยื้องกับสถานีตำรวจ มีถนนแยกไปน้ำตกกะอาง ระยะทาง 11 กิโลเมตรครับ ลักษณะเป็นลานหินกว้างมีน้ำตกไหลผ่านตามช่องหิน นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงมีพระพุทธรูปปางสมาธิก่อด้วยอิฐ ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาและมีศูนย์เพาะกล้าไม้กะอางของกรมป่าไม้ตั้งอยู่ด้วยครับ



น้ำตกสาริกา เป็นน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองไปทาง ทิศตะวันออก ทางหลวงหมายเลข 3049 เป็นระยะทาง12กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง 3050 อีก 3 กิโลเมตรทางลาดยางตลอดสาย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอด ๆ ถึง 9 ชั้น ผาที่สูงสุดประมาณ 200เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำ จะมีน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำจะแห้ง บริเวณด้านล่างของน้ำตกมีบริการห้องอาบน้ำ และห้องสุขาแยก ชาย-หญิง มีร้านอาหารร้านขายของ ที่ระลึก จากตัวเมืองนครนายกมีรถโดยสารสายนคร-นายก-สาริกา วิ่งวันละหลายเที่ยวหากขับรถไปเอง จะมีป้ายบอกตลอดทาง




น้ำตกเหวนรก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในเขตอำเภอปากพลี จากตัวเมืองเดินทางไปทางทิศตะวันออกตามถนนสุวรรณศร ถึงสี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 3077 ซึ่งเป็นทางขึ้นเขาใหญ่ไปจนถึง กม. ที่ 24 มีทางเดินเท้าไป น้ำตกเหวนรกอีก 2 กิโลเมตรครับ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านน้ำตกชั้นนี้ จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่สองและชั้นที่สามในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนน้ำจะไหล แรงมากครับ

กลับสู่ด้านบน





อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
มีพื้นที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตรในเทือกเขาพนมดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ ที่ทั้งโหดทั้งดิบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางผ่านป่าผืนใหญ่ที่กั้นแบ่งเขตภาคกลางและภาคอีสาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2465 ได้มีชาวบ้านประมาณ 30 ครัวเรือนไปตั้งหลักแหล่ง ถางป่าทำนาทำไร่ สันนิษฐานว่าเป็นพวกที่หลบหนีคดีมา ต่อมาพื้นที่เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน


สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น บางส่วนของพื้นที่เป็นทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่ามากมายทั้งไม้เศรษฐกิจ ไม้หอม และสมุนไพรต่าง ๆ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตรและยอดเขาอื่น ๆ ที่สำคัญมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,300 เมตร ได้แก่ เขาแหลม เขาเขียว เขาสามยอด เขาฟ้าผ่าสูง เขากำแพง เขาสมอปูนและเขาแก้ว ด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่สูงชัน ส่วนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกพื้นที่ลาดลง

จากระดับความสูงของพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบ ทำให้เขาใหญ่มีอากาศเย็นสบายแม้ในฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวราวเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ส่วนในช่วงฤดูฝน สภาพธรรมชาติบนเขาใหญ่ชุ่มช่ำ ป่าไม้และทุ่งหญ้าเขียวขจีสดใส น้ำตกทุกแห่งไหลแรงเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือนแม้การเดินทางจะค่อนข้างลำบาก แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย

กลับสู่ด้านบน



ป่าเขาใหญ่มีไม้มีค่าและพืชสมุนไพรนานาชนิดที่สมควรได้รับการดูแลอนุรักษ์ไว้
พันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น ไทร ซึ่งได้รับสมญานามว่า “นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร” ผลของไทรเป็นอาหารให้สัตว์ป่าหลายชนิดรวมทั้งนกเงือก แต่ในขณะเดียวกันไทรก็เป็นต้นไม้ที่ต้องอิงอาศัยต้นไม้อื่นในการเจริญเติบโต จึงไปแย่งน้ำและอาหารทำให้ต้นไม้นั้นค่อยๆ ตายไปในที่สุด เตยน้ำ เป็นไม้เลื้อยที่มีกลิ่นคล้ายตะไคร้ภายในมีท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่สามารถนำมาดื่มได้ สุรามริด ใช้ดองเหล้าแก้ปวดหลังปวดเอว กะเพราต้น เป็นไม้ใหญ่ยืนต้น แก้เจ็บท้องขับลม เงาะป่า ผลมีขนแข็งสีเหลืองแต่รับประทานไม่ได้ และ กฤษณา ไม้ซึ่งสามารถสกัดเปลือกไปทำเครื่องหอมได้ เป็นต้น




สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นบ่อยได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้า นอกจากนี้ยังอาจพบช้างป่า หมีควาย หมูป่า ชะนี เม่น พญากระรอก หมาใน ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า รวมทั้งเสือโคร่ง กระทิงและเลียงผาซึ่งก็มีถิ่นอาศัยอยู่ที่เขาใหญ่เช่นกัน อุทยานฯ ได้สร้างหอสูงสำหรับส่องดูสัตว์อยู่สองจุด คือ บริเวณมอสิงโตและหนองผักชี อนุญาตให้ขึ้นไประหว่างเวลา 8.00-18.00 น. บริเวณที่ตั้งหอดูสัตว์เป็นทุ่งหญ้าซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จะเผาทุกปีเพื่อให้เกิดหญ้าอ่อน หรือหญ้าระบัดขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ และยังมีโป่งดินเค็มที่เป็นแหล่งเกลือแร่ของสัตว์ต่างๆ อยู่ด้วย นักท่องเที่ยวที่ต้องการนั่งรถส่องสัตว์ในเวลากลางคืนสามารถติดต่อที่ทำการอุทยานฯ ก่อนเวลา 18.00 น.




เขาใหญ่ยังเหมาะเป็นที่ดูนกและผีเสื้อ จากการสำรวจ พบนกจำนวนไม่น้อยกว่า 293 ชนิด และมีอยู่ 200 ชนิด ที่พบว่าอาศัยป่าเขาใหญ่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจได้แก่ นกเงือกซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ว่าป่านั้นยังคงความอุดมสมบูรณ์ ที่พบบนเขาใหญ่มีอยู่ 4 ชนิด นอกจากนั้นยังมีนกที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ ส่วนแมลงที่สวยงามและพบเห็นมากคือ ผีเสื้อซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 ชนิด




การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางให้เลือกกว่า 20 เส้นทาง ที่ต่างกันทั้งความงามของธรรมชาติ และระยะทาง ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินป่า ซึ่งมีตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมง เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติกองแก้ว เส้นทาง กม.33 (ถนนธนะรัชต์-หนองผักชี) หรือที่ต้องเข้าไปพักค้างแรมในป่า เช่น เส้นทางน้ำตกนางรอง-เขาใหญ่ เส้นทางเขาสมอปูน หรือเส้นทางหน่วยฯ ขย.4-น้ำตกวังเหว เป็นต้น โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดและเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

กลับสู่ด้านบน




สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยาน

น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ย ๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคองซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครนายก และนครราชสีมา ในฤดูฝนดูสวยงามมาก เหมาะแก่การเล่นน้ำ สามารถเข้าถึงได้โดยการเดินเท้าจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 100 เมตร มีสะพานเชือกทอดข้ามลำน้ำให้บรรยากาศการพักผ่อนที่กลมกลืนและบริเวณใกล้ๆ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นสั้นๆ




น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากที่ทำการฯประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงโดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้และเป็นน้ำตกที่สายน้ำสองสายไหลผ่านชั้น หินทีละชั้นมาบรรจบกันจากน้ำตกผากล้วยไม้มีทางเดินไปน้ำตกเหวสุวัตได้




น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ตั้งอยู่สุดถนนธนะรัชต์ รถเข้าถึง จากลานจอดรถเดินลงไปเพียง 100 เมตร หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปประมาณ 3 กิโลเมตรก็ได้ สายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงราว 20 เมตร มีจุดชมน้ำตกในระยะไกลที่สามารถมองผ่านแมกไม้เห็นภาพของน้ำตกทั้งหมดในมุมสูงได้สวยงาม หรือหากต้องการสัมผัสกับสายน้ำตกและแอ่งน้ำด้านล่าง ก็มีทางเดินลัดเลาะลงไปได้ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะมาก ไหลแรง และเย็นจัดควรระมัดระวังอันตราย


กลับสู่ด้านบน



น้ำตกเหวไทร-เหวประทุน จากน้ำตกเหวสุวัตมีป้ายบอกทางเดินต่อไปยังน้ำตกสองแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก เป็นสายน้ำที่เชื่อมต่อกับเหวสุวัตทางลงสู่น้ำตกชันมากและลื่นโดยเฉพาะหลังฝนตก บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นมาก หากเดินไปอย่างเงียบๆ ระหว่างทาง อาจได้พบกับสัตว์เล็กๆ เช่น นก กระรอก




น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุดของอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ทำการฯลงมาทางทิศใต้ทางที่จะลงไปปราจีนบุรี โดยต้องเดินเท้าแยกจากทางสายหลักไปประมาณ 1 กิโลเมตรถึงจุดชมวิวที่มีมุมมองเห็นน้ำตกได้สวยงาม น้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะชันดิ่ง 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 15 เมตรในฤดูฝนสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่างจะแรงมากจนน่ากลัวและเมื่อ กระทบหินเบื้องล่างจะแตกกระเซ็นสร้างความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ บริเวณน้ำตกเหวนรกเป็นแดนหากินของช้างป่า ซึ่งช้างมักจะไม่เปลี่ยนเส้นทางหากิน จึงมักเกิดเหตุโศกนาฎกรรมช้างพลัดตกเหวอยู่เนือง ๆ




น้ำตกไม้ปล้อง เป็นน้ำตกที่พบมานานแต่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ มีทั้งหมด 5 ชั้น ลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุดไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวนรก หรือเหวสุวัต ตลอดเส้นทางเดินเท้าเรียงรายด้วยโขดหินเล็กใหญ่และลำธารที่สวยงาม การเดินทางไปน้ำตกนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ จังหวัดนครนายกโดยต้องเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่หน่วยพิทักษ์ฯ ขญ.9 (นางรอง)


กลับสู่ด้านบน



การเดินทาง
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 205 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 เส้นทางคือ แยกจากถนนมิตรภาพตรง กม.56 ไปตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 23 กม. อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากกรุงเทพฯ-แยกหินกอง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสี่แยกเนินหอมใช้ทางหลวง 3077 ไปถึงเขาใหญ่ เส้นทางที่สองค่อนข้างชันเหมาะที่จะใช้เป็นทางลงมากกว่า หากโดยสารรถประจำทางจากกรุงเทพฯ ให้ลงที่อำเภอปากช่องแล้วต่อรถสองแถวขึ้นเขาใหญ่ บริเวณหน้าตลาดปากช่องรถจะไปถึงตรงแค่ด่านเก็บเงิน ค่ารถ 15 บาท มีบริการระหว่างเวลา 06.00-17.00 น. จากนั้นต้องโบกรถขึ้นไปยังที่ทำการฯ หรือจะเช่ารถจากปากช่องเลยก็ได้
ค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานฯ
ชาวไทย เด็กคนละ 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท
ชาวต่างประเทศเด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท รถ 50 บาท




ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
บริเวณผากล้วยไม้จัดเป็นสถานที่ตั้งเต็นท์พักแรม ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 1,000 คน เสียค่าธรรมเนียม
เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท/คืน
มีร้านค้าสวัสดิการขายอาหาร และมีเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่า นอกจากนั้นยังมีค่ายพักบริการอีก 2 แห่งคือ ค่ายพักกองแก้ว และค่ายพักเยาวชน ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้ รวม 250 คน และเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 บาท ไม่มีเครื่องนอนให้

ติดต่อขออนุญาตที่ทำการฯก่อนเวลา 18.00 น.
สอบถามรายละเอียดที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 7223 และ 0 2579 5734 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปณ.9 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130

กลับสู่ด้านบน


06 สิงหาคม, 2552

ท่องเที่ยวหน้าฝนที่กาญจนบุรี






อุทยานแห่งชาติไทรโยค
มีเนื้อที่ 312,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 ครับ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ น้ำตกไทรโยคน้อย หรือ น้ำตกเขาพัง เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ในฤดูฝน จะมีน้ำ ตกลงมาเต็มหน้าผา ส่วนฤดู แล้งจะไม่มีน้ำแต่บริเวณน้ำตกก็ยังคงสภาพธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่น น้ำตกเขา พัง อยู่ริมถนนสายกาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ กิโลเมตร ที่ 46 ห่างจากตัวเมือง 52 กิโลเมตร การรถไฟ แห่งประเทศไทย จะจัดรถไฟสายน้ำตกพานักท่องเที่ยวไปชมน้ำตกแห่งนี้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราช การติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 2237010 และ 2237020 ครับถ้ำละว้า เป็นถ้ำที่มีความงามมาก แห่งหนึ่ง อยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยคนละด้านกับทางรถยนต์ ห่างจากริมน้ำขึ้นไปบนเขา 50 เมตร บริเวณ ปาก ถ้ำไม่กว้างนัก แต่ภายในถ้ำกว้างขวางใหญ่โตมาก แบ่งเป็น ห้องต่างๆ เช่น ห้องท้องพระโรง ห้องดนตรี ห้อง ม่าน แต่ละห้องมีความงาม ของหินงอกหินย้อยแตกต่างกันออกไป สวยงามจริง ๆ ครับน้ำตกไทรโยค หรืออีก ชื่อหนึ่งว่า "น้ำตกเขาโจน" เพราะน้ำที่ตกลงมาจากหน้าผาสู่แม่น้ำแควน้อย แรงมากราวกับกระโจนลงมา น้ำตก ไทรโยค จะมีน้ำตลอดปี แต่น้ำจะแรงมากในฤดูฝน สามารถเดินทางเข้าถึง โดยทางรถยนต์ น้ำตกไทรโยคตั้ง อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานครับ




อุทยานแห่งชาติเขาแหลม มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณป่าเขาและอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม เป็นพื้นที่ ประมาณ 815 ตารางกิโลเมตรครับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงามของอ่างเก็บน้ำแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีก ได้แก่ น้ำตกเกริงกระเวีย เป็น น้ำตกชั้นเตี้ย ๆ ไหลลดหลั่นมาตามชั้นหินปูน ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็น พื้นที่กว้าง มีน้ำมากในช่วงปลาย ฤดูฝนน้ำตกเกริงกระเวียตั้งอยู่ริมทางสายทองผาภูมิ-สังขละบุรี เลยทองผาภูมิไปประ-มาณ 32 กิโลเมตร ครับ

น้ำตกไดช่องถ่อง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เลยจากน้ำตกเกริงกระเวีย ไปตามเส้น ทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี 2 กิโลเมตร
จะมีทางแยกซ้ายไปน้ำตกอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเข้าตัวน้ำตกไม่ดีนัก เดินทาง ลำบาก โดยเฉพาะในฤดูฝน

บริเวณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงสายทองผาภูมิ - สังขละบุรี มีสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม แต่นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์มาเองครับ




เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีพื้นที่อยู่ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับ ซับซ้อน ยอดเขาสูงสุดคือ เขาใหญ่ อยู่บริเวณตอนกลาง ของพื้นที่ เป็นต้นน้ำ ของลำธารหลายสาย มีป่า เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าหลายชนิด อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การเดินทาง ไปยังเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร ยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากสภาพถนน บางช่วงไม่ดี จากเส้นทาง ทอง ผาภูมิ สังขละบุรี บริเวณแยกห้วยเสือ ไปยังบ้านคลีตี้ ระยะทาง ๔๒ กิโลเมตร ต่อจากนั้น มีทางแยก ไปที่ การเขตฯ ที่ห้วยซ่งไท้อีก ๔๐ กิโลเมตร ผู้ที่จะไป ยังทุ่งใหญ่นเรศวร ต้องทำหนังสือ ขออนุญาต ล่วงหน้า ไปที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร สำนักงานป่าไม่ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัด กาญจนบุรี๗๑๐๐๐




อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ และเกาะแก่งต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีเขตติดต่อกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระมีเนื้อที่ประมาณ 957,500 ไร่ หรือ 1,532 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา :
เนื่องจากป่าต้นน้ำลำธาร ของแม่น้ำแควใหญ่เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ มีสภาพป่าสมบูรณ์เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น น้ำพุร้อน ถ้ำ และทะเลสาบ ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 71/2523 ลงวันที่ 11 มกราคม 2523 ให้นายนิสัย ฟุ้งขจร นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณทำการสำรวจพื้นที่ ประกอบกับในคราวประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3/2522 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2522 นายผ่อง เล่งอี้ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กรมป่าไม้ มีโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์ ดังนั้นจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้แต่งตั้งคณะสำรวจของจังหวัดทำการสำรวจด้วยเช่นกัน ซึ่งพบว่า พื้นที่ป่ามีสภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม มีลักษณะทางธรรมชาติที่เด่นหลายแห่งเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กอง อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรดำเนินการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 38 ของประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ส่วนหนึ่งเกิดจากสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ กั้นขวางแม่น้ำแม่กลอง (แควใหญ่) โดยมีแม่น้ำ ลำห้วย ลำธารที่สำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ เช่น ห้วยแม่ขมิ้น ห้วยขาแข้ง ห้วยแม่วง ห้วยเกรียงไกร และห้วยแม่พลู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลำห้วยลำธารอีกหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยบริเวณเขต อำเภอไทรโยค เช่น ห้วยลิ่นถิ่น เป็นต้น สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนและหินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ ระดับความสูง สูงสุดประมาณ 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร พื้นที่น้ำในทะเลสาบเหนือเขื่อนศรีนครินทร์มีระดับความสูงสุดประมาณ 180 เมตรจากระดับ น้ำทะเลปานกลาง

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่ ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์เป็นพื้นที่เงาฝน (rain shadow) ทำให้มีฝนตกน้อย อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 44-45 องศาเซล-เซียสในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมประมาณ 8-9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซล-เซียส ช่วงฤดูฝนเริ่มตกจากกลางเดือนเมษายน และสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,600 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง
ป่า เบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ในบริเวณค่อนข้างราบถึงเนินเขา ในบางพื้นที่จะพบไม้ไผ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่นมาก มีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นแทรกอยู่บ้างเพียงประปราย พบมากในบริเวณตอนกลางติดกับชายฝั่งอ่างเก็บน้ำ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แดง มะค่าโมง ประดู่ รกฟ้า มะกอกป่า กระโดน ตะแบก ไผ่บง ไผ่รวก และไผ่ซาง มีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในสังคมป่าชนิดนี้ได้แก่ ลิงกัง พญากระรอกดำ เม่นใหญ่แผงคอสั้น หมาจิ้งจอก หมาไน กระทิง ช้างป่า เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกกะเต็นแดง นกโพระดกธรรมดา นกแอ่นฟ้าหงอน นกกระรางสร้อยคอใหญ่ นกจับแมลงคอสีฟ้า เต่าเหลือง ตะกวด จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูเหลือม งูหมอก งูปี่แก้วลายหัวใจ และกบหนอง เป็นต้น ส่วนบริเวณยอดเขาหินปูนที่เป็นสังคมป่าชนิดนี้จะพบเลียงผาอาศัยอยู่

ป่า เต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง แดง ตะคร้อ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก เป้งดอย ปรงป่า และไผ่เพ็ก สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณสังคมพืชป่าเต็งรัง ได้แก่ กระรอกปลายหางดำ กระจงเล็ก กวางป่า นกกระรางหัวขวาน นกตีทอง นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกแซงแซวหางปลา ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหลากหลาย งูกะปะ เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบขึ้นประปรายอยู่ทั่วเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มักจะพบในบริเวณที่อยู่ทางด้านรับลมที่พัดพาฝนมาปะทะภูเขา หรืออยู่ริมสองฝั่งของลำธาร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน มะเกิ้ม ยมหิน กระเบากลัก ยมหอม สมพง งิ้วป่า พลอง ขะเจ๊าะ กระโดน และเปล้า เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิงลม ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว พญากระรอกบินหูแดง หมาไม้ อีเห็นธรรมดา เสือโคร่ง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขาเขียว นกตะขาบดง นกแก๊ก นกกก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ เต่าหก เหี้ย งูลายสาบคอแดง งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูหลาม และเขียดตะปาด เป็นต้น

บริเวณ อ่างเก็บน้ำและลำห้วยต่างๆ สัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่พบอาศัยอยู่ได้แก่ คางคกแคระ เขียดอ่อง กบทูด กบชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดลายหินเมืองเหนือ อึ่งแม่หนาว ปลากราย ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาชะโด ปลาเวียน ปลาปลาเลียหิน ปลากระทิงดำ เป็นต้น สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปเพื่อปลูกพืชเกษตรภายหลังได้ อพยพออกไปแล้ว และบริเวณริมอ่างเก็บน้ำที่ถูกตัดต้นไม้ออกหมด สัตวป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ เก้ง กระต่ายป่า อ้น นกยางกรอกพันธุ์จีนนกยางโทนใหญ่ นกกระแตแต้แว้ด นกกระปูดใหญ่ นกอีวาบตั๊กแตน นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าหัวแดง แย้ อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น

การเดินทาง
รถยนต์
1. เส้นทางจากเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผ่านทางแยกเข้าน้ำตกเอราวัณ ถ้ำพระธาตุ สภาพเส้นทางเป็นถนนลูกรัง ในช่วงหน้าฝนถนนจะขรุขระมาก เป็นถนนเลียบขอบทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ไปจนถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 45 กิโลเมตร เส้นทางนี้เหมาะสำหรับรถกระบะ

2. เส้นทางเอราวัณ-ศรีสวัสดิ์ ถึงท่าแพห้วยแม่ละมุ่น ข้ามจากฝั่งแม่ละมุ่นโดยแพขนานยนต์มายังศรีสวัสดิ์ ใช้เวลา 15 นาที จากนั้นขับรถต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงท่าแพที่ 2 ข้ามจากศรีสวัสดิ์ทางแพขนานยนต์มายังน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ใช้เวลา 45 นาที ขับรถต่อจากท่าแพอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางนี้เหมาะสำหรับรถเก๋ง และรถตู้


เรือ
เช่าเหมาเรือเอกชนจากท่าต่างๆ เช่น ท่าเรือหม่องกระแทะ ท่าเรือท่ากระดาน ท่าเรือตลาดเขื่อนฯ หรือท่าเรือเขื่อนนครินทร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง



ที่พัก - สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
ตู้ ปณ.1 อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี 71250
โทรศัพท์ 0 3451 6667 โทรสาร 0 3452 6720




น้ำตกห้วยขมิ้น
ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ ริมทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ ห่างจากกาญจนบุรีประมาณ 108 กิโลเมตร น้ำตกห้วยขมิ้นมีสภาพสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ทั่วบริเวณร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด น้ำตกแบ่งออกเป็นหลายชั้น แต่ละชั้นมีความสูงและความงดงามต่างกันไป อุทยานฯ ได้ทำทางเดินเท้าสำหรับขึ้นไปชมน้ำตกแต่ละชั้น ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
การเดินทางไปน้ำตกห้วยขมิ้นโดยทางรถยนต์ จะใช้เส้นทางสายกาญจนบุรี-เอราวัณ ผ่านถ้ำพระธาตุห้วยพุมุด (วัดพุมุด) เข้าถึงบริเวณน้ำตกรวมระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ควรใช้รถสภาพดีมีกำลังขับเคลื่อนสูง หรือจะเช่ารถสองแถวจากตัวเมืองหรือที่ตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ หรือเดินทางทางเรือโดยลงเรือที่ท่าหม่องกระแทะหรือท่าเรือท่ากระดาน ซึ่งอยู่ห่างจากทางแยกเข้าเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 12 กิโลเมตร
ในบริเวณอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อกองอุทยานแห่งชาติ โทร. 579-0529, 579-4842

05 สิงหาคม, 2552

ท่องเที่ยวอุบลราชธนีหน้าฝนนี้...






อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
มีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิดลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศลาวและกัมพูชา พื้นที่เป็นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ได้รับการประกาศเป็นอุทยาน แห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ครับ




น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู) อยู่ห่างจากน้ำตกทุ่งนาเมืองเพียง 11 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ คือ น้ำตก ตกลงผ่านปล่องหินสู่เบื้องล่าง มองดูคล้ายแสงจันทร์ซึ่งเต็มดวงสาดส่องมายังพื้นโลก บริเวณโดยรอบมีโขดหินน้อย ใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้นานาพรรณ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก ได้แก่ ผาเจ็ก ผาเมย ภูนาทาม ภูโลง สวนหิน ภูกระบอ ภูจ้อมค้อม น้ำตำห้วยพอก ฯลฯ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงามเหมาะสำหรับการเดินทาง ท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่าครับ

กลับสู่ด้านบน





อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ย ๆ สภาพป่าทั่วไป เป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลัษณะแคระแกรนบางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ หมายเลข 217 สายอุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือเส้นทาง หมายเลข 2222 ซึ่งสาทมารถชมแก่งตะนะได้อย่างสวยงาม โดยหินจะโผล่ด้านนี้ มากกว่า มองเห็นแก่งตะนะได้ชัดเจนในเขตอุทยานฯ ครับ




น้ำตกสร้อยสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลจากหน้าผาสูงชัน สองด้านสูงประมาณ 20 เมตร มองดูคล้ายสร้อยที่แขวนอยู่ในคอ มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานา พรรณครับ

กลับสู่ด้านบน





น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก แห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตนไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดย รอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ บริเวณที่ทำการอุทยานมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 5790529, 5794842 ครับ




น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม และอยู่ใกล้เส้นทางน้ำไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหิน ชั้นบนสุดสูงประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่าง ๆ มากมาย

กลับสู่ด้านบน

เที่ยวเมืองเลยหน้าฝนนี้






น้ำตกแก่งสองคอน
อยู่ที่บ้านหัวนายูง อำเภอด่านซ้าย การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2013 (ด่านซ้าย-นครไทย) อยู่เลยพระธาตุศรีสองรักไป ราว 400 เมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามทางลูกรังอีก 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะถึงน้ำตกครับ ลักษณะของน้ำตก เป็นธารน้ำกว้างไหลผ่านก้อนหินใหญ่น้อยมากมาย ลดหลั่นกันลงมาอย่างน่าชมครับ





ภูหลวง ภูหลวงมีความหมายว่าเขาที่สูงใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน เกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลกและดินส่วนที่อ่อนพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ ภูหลวงประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517 มีพื้นที่ประมาณ 560,593 ไร่

สภาพทั่วไป
เป็นพื้นที่ราบสูง อากาศเย็นตลอดปี ตั้งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูหลวง

ฤดูกาลบนภูหลวง
มี 3 ฤดูเหมือนพื้นราบแต่ระดับอุณหภูมิต่างกัน ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20-24 องศาเซลเซียสจะมีดอกไม้ที่มีสีสันเจิดจ้าสวยงามเช่นเอื้องตาเหิน กล้วยไม้ป่าดอกขาว กุหลาบขาวและกุหลาบแดง ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อุณหภูมิใกล้เคียงหรือสูงกว่าหน้าร้อนเล็กน้อยจะมีดอกไม้ป่าดอกเล็กๆ สีชมพูอมม่วงขึ้นแซมตามทุ่งหญ้าและเทียนน้อย ฤดูหนาวอุณหภูมิลดลงมาก เฉลี่ย 0-16 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม บางวันอุณหภูมิลดลงถึง –4 องศาเซลเซียสจะมีก่วมแดงหรือที่รู้จักกันว่าเมเปิ้ล จะเปลี่ยนสีแดง แล้วผลัดใบ ตามพื้นดินจะเห็นต้นกระดุมเงินและรองเท้านารีปีกแมลงปอขึ้นอยู่บนก้อนหินและ ตามพื้นป่าดิบเขา ด้านตะวันออกของเทือกภูหลวงมีการค้นพบซากหินรอยเท้าไดโนเสาร์อายุกว่า 120 ล้านปี นอกจากนี้ยังมีป่าหลากชนิด เช่น ป่าผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา แต่ป่าที่โดดเด่นที่สุดบนภูหลวง คือป่าสนสองใบ สนสามใบ และทุ่งหญ้าตามพื้นที่ราบ เนินเขาและลานหิน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติภูหลวง
เป็นเส้นทางเดินต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากโหล่นมน ซึ่งเป็นบริเวณที่พักนักท่องเที่ยวผ่านป่าดงดิบ ลำห้วยป่าสนสามใบ และดอกไม้สลับทุ่งหญ้าระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ถึงโหล่นสาวแยงคิง จากนั้นไปเป็นเส้นทางเดินไปยังโหล่นหินแอ่วขัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ผ่านดงดอกไม้หลายชนิด ต่อไปเป็นทางเดินสู่ลานหินโหล่นแต้ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะพบกุหลาบขาวและกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ บริเวณผาโหล่นแต้ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูหอ ภูกระดึง ภูยองภู และภูขวาง นอกจากนี้ ยังมีจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผากบ ผาชมวิว โหล่นช้างผึ้ง ซุ้มงูเห่า และน้ำตกสายทอง

การเดินทางขึ้นภูหลวง
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2579 9446 ช่วงที่เหมาะในการเที่ยวชมภูหลวงคือระหว่างเดือนตุลาคม-พฤษภาคม ภูหลวงจะปิดในช่วงฤดูฝน

กลับสู่ด้านบน







อุทยานแห่งชาติภูเรือ เป็นภูเขาสูงใหญ่ บนยอดเขาเป็ฯที่ราบกว้างใหญ่ มีต้นสนขึ้นสลับซับซ้อน มีลักษณะแปลกคือ มีส่วนหนึ่งเป็นผา
ชะโงกยื่นออกมาเหมือนหัวเรือสำเภาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูเรือตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ มีเนื้อที่
ทั้งสิ้นประมาณ 75,525 ไร่ครับ การเดินทาง จากตัวเมืองเลย ใช้ทางหลวงหมายเลข 203 (เลย-ภูเรือ) ระยะทาง
ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 49-50 ตรงที่ทำการอำเภอภูเรือ เข้าไปเป็นทางลูก
รังระยะทาง 4 กิโลเมตร จากจุดนี้ขึ้นไปมีเส้นทางรถยนต์ซึ่งสามารถขึ้นได้เฉพาะรถปิคอัพหรือรถจี๊ปที่กำลังดี
เท่านั้น ระยะทางราว 5 กิโลเมตร ถึงยอดภูเรือ จากที่ทำการอุทยานฯ มีเส้นทางเดินเท้าขึ้นไปถึงยอดครับ


กลับสู่ด้านบน






อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่ง ชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียง ใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น

ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี
ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น
ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว

ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ห้ามก่อไฟ
เพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยวเก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำอาหารขึ้นไปประกอบและหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้มภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้น

ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขา
นักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไป สู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่านไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทาง เข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ

สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องสุขารวม/ห้องอาบน้ำ
มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบนยอดภูกระดึง

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อจองเต็นท์กับทางอุทยานได้ในวันที่มาถึง ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน<เชิงเขา>เท่านั้น สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 150-500 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 150 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 225 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 4 คน ราคา 300 บาท/คืน
- เต็นท์ ขนาด 5 คน ราคา 500 บาท/คืน

หมายเหตุ:ราคาไม่รวม ชุดเครื่องนอน
สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง (หรือในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานเต็มและต้องไปเช่าเต็นท์บนยอดเขา)
- ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30/คน/คืน
- เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 12 ปี จะไม่ได้ชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่าเครื่องนอนทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีไว้บริการดังนี้
- ถุงนอน อัตราการเช่า 30 บาท/คืน/ถุง
- ที่รองนอน อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/อัน
- หมอน อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ใบ
- ผ้าห่ม อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน
- ผ้าห่มอย่างหนา อัตราการเช่า 20 บาท/คืน/ผืน
- เสื่อ อัตราการเช่า 10 บาท/คืน/ผืน

ที่จอดรถ
มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

บริการอาหาร
เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับบริการที่ดี ทั้งคุณภาพอาหารและเครื่องดื่ม หากพบว่าไม่สะอาด ราคาไม่เป็นธรรม หรือมีการปลอมปน ขอให้นักท่องเที่ยวแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหรือโทรศัพท์ หมายเลข 0-4287-1333 เพื่อดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป สำหรับร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึกนั้น มีไว้คอยบริการตามจุดต่างๆ ดังนี้
1. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน (เชิงเขา)
2. ระหว่างทางเดินขึ้นเขา บริเวณซำแฮก ซำกอซาง ซำกกโดน และซำแคร่
3. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง (ยอดเขา) และจุดชมทิวทัศน์ต่างๆบนยอดเขา ดังนี้ ผาหมากดูก ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง และผาหล่มสัก

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
หมู่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย 42180
โทรศัพท์ 0 4287 1333, 0 4287 1458 โทรสาร 0 4287 1333

กลับสู่ด้านบน






สวนหินผางามหรือคุนหมิงเมืองไทย อยู่ที่บ้านผางาม หมู่ 10 ตำบลปวนพุ จากกิ่งอำเภอหนองหินเข้าไปประมาณ 18 กิโลเมตร สวนหินผางามเป็นสวนหินที่ประกอบด้วยภูเขาขนาดเล็ก ขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่ว ภูเขาบางลูกสามารถเดินผ่านทะลุได้ สวนหินแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “คุนหมิงเมืองไทย” นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำชมสวนหินผางามที่ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว

กลับสู่ด้านบน

ททท. จัดทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยว 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

ททท. จัดทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยว 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดทำหนังสือ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน มหัศจรรย์เมืองไทยต้องไปสัมผัส คูมือเดินทางท่องเที่ยวที่จะพาไปสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย ซึ่งถูกคัดสรรมาแล้วว่า น่าดูที่สุด สวยที่สุด ในแต่ละเดือน รวมทั้งความมหัศจรรย์ของธรรมชาติทั้งตอนกลางวันและยามค่ำคืน

หนังสือ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน มหัศจรรย์เมืองไทยต้องไปสัมผัส ได้นำมาแจกในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2552 ท่านใดที่พลาดโอกาส สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่


คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวันในรูปแบบไฟล์ pdf (ขนาด 48.2 Mb)