อุทยานแห่งชาติไทรโยค มีเนื้อที่ 312,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 ครับ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ น้ำตกไทรโยคน้อย หรือ น้ำตกเขาพัง เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ในฤดูฝน จะมีน้ำ ตกลงมาเต็มหน้าผา ส่วนฤดู แล้งจะไม่มีน้ำแต่บริเวณน้ำตกก็ยังคงสภาพธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่น น้ำตกเขา พัง อยู่ริมถนนสายกาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ กิโลเมตร ที่ 46 ห่างจากตัวเมือง 52 กิโลเมตร การรถไฟ แห่งประเทศไทย จะจัดรถไฟสายน้ำตกพานักท่องเที่ยวไปชมน้ำตกแห่งนี้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราช การติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 2237010 และ 2237020 ครับถ้ำละว้า เป็นถ้ำที่มีความงามมาก แห่งหนึ่ง อยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยคนละด้านกับทางรถยนต์ ห่างจากริมน้ำขึ้นไปบนเขา 50 เมตร บริเวณ ปาก ถ้ำไม่กว้างนัก แต่ภายในถ้ำกว้างขวางใหญ่โตมาก แบ่งเป็น ห้องต่างๆ เช่น ห้องท้องพระโรง ห้องดนตรี ห้อง ม่าน แต่ละห้องมีความงาม ของหินงอกหินย้อยแตกต่างกันออกไป สวยงามจริง ๆ ครับน้ำตกไทรโยค หรืออีก ชื่อหนึ่งว่า "น้ำตกเขาโจน" เพราะน้ำที่ตกลงมาจากหน้าผาสู่แม่น้ำแควน้อย แรงมากราวกับกระโจนลงมา น้ำตก ไทรโยค จะมีน้ำตลอดปี แต่น้ำจะแรงมากในฤดูฝน สามารถเดินทางเข้าถึง โดยทางรถยนต์ น้ำตกไทรโยคตั้ง อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานครับ
อุทยานแห่งชาติเขาแหลม มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณป่าเขาและอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม เป็นพื้นที่ ประมาณ 815 ตารางกิโลเมตรครับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงามของอ่างเก็บน้ำแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีก ได้แก่ น้ำตกเกริงกระเวีย เป็น น้ำตกชั้นเตี้ย ๆ ไหลลดหลั่นมาตามชั้นหินปูน ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็น พื้นที่กว้าง มีน้ำมากในช่วงปลาย ฤดูฝนน้ำตกเกริงกระเวียตั้งอยู่ริมทางสายทองผาภูมิ-สังขละบุรี เลยทองผาภูมิไปประ-มาณ 32 กิโลเมตร ครับ
น้ำตกไดช่องถ่อง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เลยจากน้ำตกเกริงกระเวีย ไปตามเส้น ทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี 2 กิโลเมตร
จะมีทางแยกซ้ายไปน้ำตกอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเข้าตัวน้ำตกไม่ดีนัก เดินทาง ลำบาก โดยเฉพาะในฤดูฝน
บริเวณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงสายทองผาภูมิ - สังขละบุรี มีสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม แต่นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์มาเองครับ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีพื้นที่อยู่ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับ ซับซ้อน ยอดเขาสูงสุดคือ เขาใหญ่ อยู่บริเวณตอนกลาง ของพื้นที่ เป็นต้นน้ำ ของลำธารหลายสาย มีป่า เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าหลายชนิด อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การเดินทาง ไปยังเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร ยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากสภาพถนน บางช่วงไม่ดี จากเส้นทาง ทอง ผาภูมิ สังขละบุรี บริเวณแยกห้วยเสือ ไปยังบ้านคลีตี้ ระยะทาง ๔๒ กิโลเมตร ต่อจากนั้น มีทางแยก ไปที่ การเขตฯ ที่ห้วยซ่งไท้อีก ๔๐ กิโลเมตร ผู้ที่จะไป ยังทุ่งใหญ่นเรศวร ต้องทำหนังสือ ขออนุญาต ล่วงหน้า ไปที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร สำนักงานป่าไม่ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัด กาญจนบุรี๗๑๐๐๐
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ และเกาะแก่งต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีเขตติดต่อกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระมีเนื้อที่ประมาณ 957,500 ไร่ หรือ 1,532 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา :
เนื่องจากป่าต้นน้ำลำธาร ของแม่น้ำแควใหญ่เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ มีสภาพป่าสมบูรณ์เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น น้ำพุร้อน ถ้ำ และทะเลสาบ ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 71/2523 ลงวันที่ 11 มกราคม 2523 ให้นายนิสัย ฟุ้งขจร นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณทำการสำรวจพื้นที่ ประกอบกับในคราวประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3/2522 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2522 นายผ่อง เล่งอี้ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กรมป่าไม้ มีโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์ ดังนั้นจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้แต่งตั้งคณะสำรวจของจังหวัดทำการสำรวจด้วยเช่นกัน ซึ่งพบว่า พื้นที่ป่ามีสภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม มีลักษณะทางธรรมชาติที่เด่นหลายแห่งเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กอง อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรดำเนินการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 38 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ส่วนหนึ่งเกิดจากสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ กั้นขวางแม่น้ำแม่กลอง (แควใหญ่) โดยมีแม่น้ำ ลำห้วย ลำธารที่สำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ เช่น ห้วยแม่ขมิ้น ห้วยขาแข้ง ห้วยแม่วง ห้วยเกรียงไกร และห้วยแม่พลู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลำห้วยลำธารอีกหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยบริเวณเขต อำเภอไทรโยค เช่น ห้วยลิ่นถิ่น เป็นต้น สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนและหินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ ระดับความสูง สูงสุดประมาณ 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร พื้นที่น้ำในทะเลสาบเหนือเขื่อนศรีนครินทร์มีระดับความสูงสุดประมาณ 180 เมตรจากระดับ น้ำทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่ ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์เป็นพื้นที่เงาฝน (rain shadow) ทำให้มีฝนตกน้อย อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 44-45 องศาเซล-เซียสในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมประมาณ 8-9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซล-เซียส ช่วงฤดูฝนเริ่มตกจากกลางเดือนเมษายน และสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,600 มิลลิเมตร
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง
ป่า เบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ในบริเวณค่อนข้างราบถึงเนินเขา ในบางพื้นที่จะพบไม้ไผ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่นมาก มีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นแทรกอยู่บ้างเพียงประปราย พบมากในบริเวณตอนกลางติดกับชายฝั่งอ่างเก็บน้ำ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แดง มะค่าโมง ประดู่ รกฟ้า มะกอกป่า กระโดน ตะแบก ไผ่บง ไผ่รวก และไผ่ซาง มีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในสังคมป่าชนิดนี้ได้แก่ ลิงกัง พญากระรอกดำ เม่นใหญ่แผงคอสั้น หมาจิ้งจอก หมาไน กระทิง ช้างป่า เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกกะเต็นแดง นกโพระดกธรรมดา นกแอ่นฟ้าหงอน นกกระรางสร้อยคอใหญ่ นกจับแมลงคอสีฟ้า เต่าเหลือง ตะกวด จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูเหลือม งูหมอก งูปี่แก้วลายหัวใจ และกบหนอง เป็นต้น ส่วนบริเวณยอดเขาหินปูนที่เป็นสังคมป่าชนิดนี้จะพบเลียงผาอาศัยอยู่
ป่า เต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง แดง ตะคร้อ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก เป้งดอย ปรงป่า และไผ่เพ็ก สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณสังคมพืชป่าเต็งรัง ได้แก่ กระรอกปลายหางดำ กระจงเล็ก กวางป่า นกกระรางหัวขวาน นกตีทอง นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกแซงแซวหางปลา ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหลากหลาย งูกะปะ เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบขึ้นประปรายอยู่ทั่วเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มักจะพบในบริเวณที่อยู่ทางด้านรับลมที่พัดพาฝนมาปะทะภูเขา หรืออยู่ริมสองฝั่งของลำธาร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน มะเกิ้ม ยมหิน กระเบากลัก ยมหอม สมพง งิ้วป่า พลอง ขะเจ๊าะ กระโดน และเปล้า เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิงลม ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว พญากระรอกบินหูแดง หมาไม้ อีเห็นธรรมดา เสือโคร่ง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขาเขียว นกตะขาบดง นกแก๊ก นกกก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ เต่าหก เหี้ย งูลายสาบคอแดง งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูหลาม และเขียดตะปาด เป็นต้น
บริเวณ อ่างเก็บน้ำและลำห้วยต่างๆ สัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่พบอาศัยอยู่ได้แก่ คางคกแคระ เขียดอ่อง กบทูด กบชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดลายหินเมืองเหนือ อึ่งแม่หนาว ปลากราย ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาชะโด ปลาเวียน ปลาปลาเลียหิน ปลากระทิงดำ เป็นต้น สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปเพื่อปลูกพืชเกษตรภายหลังได้ อพยพออกไปแล้ว และบริเวณริมอ่างเก็บน้ำที่ถูกตัดต้นไม้ออกหมด สัตวป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ เก้ง กระต่ายป่า อ้น นกยางกรอกพันธุ์จีนนกยางโทนใหญ่ นกกระแตแต้แว้ด นกกระปูดใหญ่ นกอีวาบตั๊กแตน นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าหัวแดง แย้ อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น
การเดินทาง
รถยนต์
1. เส้นทางจากเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผ่านทางแยกเข้าน้ำตกเอราวัณ ถ้ำพระธาตุ สภาพเส้นทางเป็นถนนลูกรัง ในช่วงหน้าฝนถนนจะขรุขระมาก เป็นถนนเลียบขอบทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ไปจนถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 45 กิโลเมตร เส้นทางนี้เหมาะสำหรับรถกระบะ
2. เส้นทางเอราวัณ-ศรีสวัสดิ์ ถึงท่าแพห้วยแม่ละมุ่น ข้ามจากฝั่งแม่ละมุ่นโดยแพขนานยนต์มายังศรีสวัสดิ์ ใช้เวลา 15 นาที จากนั้นขับรถต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงท่าแพที่ 2 ข้ามจากศรีสวัสดิ์ทางแพขนานยนต์มายังน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ใช้เวลา 45 นาที ขับรถต่อจากท่าแพอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางนี้เหมาะสำหรับรถเก๋ง และรถตู้
เรือ
เช่าเหมาเรือเอกชนจากท่าต่างๆ เช่น ท่าเรือหม่องกระแทะ ท่าเรือท่ากระดาน ท่าเรือตลาดเขื่อนฯ หรือท่าเรือเขื่อนนครินทร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
ที่พัก - สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
ตู้ ปณ.1 อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี 71250
โทรศัพท์ 0 3451 6667 โทรสาร 0 3452 6720
น้ำตกห้วยขมิ้น
ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ ริมทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ ห่างจากกาญจนบุรีประมาณ 108 กิโลเมตร น้ำตกห้วยขมิ้นมีสภาพสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ทั่วบริเวณร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด น้ำตกแบ่งออกเป็นหลายชั้น แต่ละชั้นมีความสูงและความงดงามต่างกันไป อุทยานฯ ได้ทำทางเดินเท้าสำหรับขึ้นไปชมน้ำตกแต่ละชั้น ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
การเดินทางไปน้ำตกห้วยขมิ้นโดยทางรถยนต์ จะใช้เส้นทางสายกาญจนบุรี-เอราวัณ ผ่านถ้ำพระธาตุห้วยพุมุด (วัดพุมุด) เข้าถึงบริเวณน้ำตกรวมระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ควรใช้รถสภาพดีมีกำลังขับเคลื่อนสูง หรือจะเช่ารถสองแถวจากตัวเมืองหรือที่ตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ หรือเดินทางทางเรือโดยลงเรือที่ท่าหม่องกระแทะหรือท่าเรือท่ากระดาน ซึ่งอยู่ห่างจากทางแยกเข้าเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 12 กิโลเมตร
ในบริเวณอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อกองอุทยานแห่งชาติ โทร. 579-0529, 579-4842
koh samui hotels
ตอบลบน่าเที่ยวมากครับ
ตอบลบ