วันลอยกระทง ใกล้มาถึงแล้ว วันนี้เราจึงมี ข่าว ท่องเที่ยว เกี่ยวกับ 6 สถานที่ท่องเที่ยว ลอยกระทง ใน วันลอยกระทง สุดฮิต มาฝากค่ะ ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะไป ลอยกระทง ใน วันลอยกระทง ที่ไหนถ้าได้อ่าน 6 สถานที่ท่องเที่ยว ลอยกระทง ใน วันลอยกระทง นี้รับรองว่าคุณมีที่ไป ลอยกระทง แน่นอนค่ะ
วันลอยกระทง (2 พ.ย.) ใกล้จะมาถึงแล้ว วันนี้เราจึงขอรวมสถานที่จัดงานลอยกระทงสุดฮิต 6 พื้นที่มาฝากค่ะ อยากรู้ก็ไปดูเลย
กรุงเทพมหานคร
"สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง"
กำหนดการจัดงาน: วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน: บริเวณสวนสาธารณะสะพานพระราม 8 และบริเวณแม่น้ำเเจ้าพระยา (ตั้งแต่สะพานกรุงเทพ-สะพานกรุงธน) กรุงเทพมหานคร
กิจกรรม: ชม ฟรี ขบวนเรือประดับไฟฟ้า ประเพณีลอยกระทง ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552 เวลา 19.30 - 22.00 น. บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานกรุงเทพถึงสะพานกรุงธน กรุงเทพมหานคร
สัมผัสบรรยากาศพิเศษสุดของงานลอยกระทง ในแบบฉบับกรุงรัตนโกสินทร์ชมฟรี
ระหว่างวันที่ 31ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.30 - 21.30 น. ณ สวนสาธารณะสะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชนิด ชมขบวนเรือประดับไฟฟ้าในมุมมองที่ดีที่สุด ดื่มด่ำกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม บรรยากาศตลาดย้อนยุค ท่องเที่ยวทางน้ำชมสีสันของแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืนกับสมาคมเรือไทย ร้านอาหาร โรงแรม ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งเดือน พฤศจิกายน 2552
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. 1672 สมาคมเรือไทย โทร. 02-225-6179,02-221-2297,02-623-5340
สุโขทัย
"ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ"
เป็นประเพณีบูชาด้วยประทีปที่ มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่ปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหงหลักที่ 1 มีข้อความกล่าวถึง การเผาเทียน เล่นไฟ ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อกว่า 700 ปีก่อน ซึ่งได้คลี่คลายมาเป็นประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟในปัจจุบัน โดยมีการแสดงแสง-เสียง จำลองบรรยากาศงานเผาเทียน เล่นไฟสมัยสุโขทัย ให้ผู้คนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ชื่นชม
กำหนดการจัดงาน: วันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน: อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม:
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2552 (วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 )
เวลา 05.30 น. พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
- ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ 9 รูป
- พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
เวลา 07.45 น. หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ
ผู้บริหารสถานบันการศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการทุกฝ่าย
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด
สมาชิกองค์กร ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา พ่อค้าและประชาชน ทุกเหล่า
พร้อมกัน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาว-รีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงบุรพกษัตริย์สุโขทัย ทุกพระองค์
ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อ ขุนรามคำแหงมหาราช
- ประธานในพิธีจุดธูปเทียนสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- ประธานในพิธีถวายพวงมาลัยคล้องพระแสง
- ประธานในพิธีจุดเทียนชัยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง
- พราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและบูรพกษัตริย์
- เจ้าหน้าที่จุดธูปมอบให้พราหมณ์ในพิธีและมอบให้ประธานในพิธีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปปักบนเครื่องบวงสรวง
- เสร็จพิธีพราหมณ์
- รำบวงสรวง
- สวดสรภัญญะ
- เสร็จพิธีบวงสรวง
เวลา 09.45 น. พิธีสงฆ์ ( ดำเนินการต่อเนื่องจากพิธีบวงสรวง)
- พระสงฆ์ 10 รูปพร้อม ณ บริเวณ พิธีข้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- พิธีกรอาราธนาศีล
- ประธานสงฆ์ให้ศีล
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
- ประธานในพิธีประจำ ณ แท่นพิธี
- ประธานจัดกล่าวรายงาน
- ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานประเพณีลอยกระทงฯ ประจำปี 2552
- ประธานในพิธีลั่นฆ้อง 3 ครั้ง พนักงานจุดพลุ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
- พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
- ประธานในพิธีและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์
- พระสงฆ์อนุโมทนา ( เสร็จพิธี สงฆ์ )
เวลา 10.00 น. - ตั้งองค์กฐิน ณ บริเวณลานลานโพธิ์
เวลา 11.00 น. - การประกวดโคมชักโคมแขวน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- กิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณลานวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม
- การแข่งขันและการแสดงกีฬาพื้นบ้าน ณ บริเวณลานกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
- การแข่งขันหมากรุกไทย
- การแสดงกระบี่กระบอง
- การสาธิตมวยคาดเชือก
- การสาธิตว่าวไทย
- การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์ หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 16.00 น.
- การแสดงหมากรุกไทย( คน )โดยใช้นักแสดงจากนาฎศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง
เวลา 17.00 น.
- การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน
เวลา 18.00 น. - กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ
เวลา 19.30 น. - การแสดงประกอบแสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ
เวลา 20.00 น. - การแสดงนาฎศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง
เวลา 21.00 น. - การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
เวลา 22.30 น. - การแสดงตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ณ บริเวณสระน้ำตระพังตระกวน
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ( วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 )
กิจกรรม
เวลา 05.30 น.
- พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
- ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
- พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
เวลา 09.00 น.
- ขบวนแห่ผ้ากฐินทาน ไปทอดถวาย ณ วัดตระพังทอง
เวลา 09.30 น.
- ขบวนแห่งพระเวสสันดร และตัวละครเทศน์มหาชาติ เริ่มขบวนที่หน้าศาลเจ้าปู่ผาดำ ไปสิ้นสุด ณ บริเวณลานวัฒนธรรม
เวลา10.00 น.
- การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน หมากรุกไทย ( รอบชิงชนะเลิศ ) ณ บริเวณลานกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
- การแสดงกระบี่กระบอง
- การสาธิตมวยคาดเชือก
- การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์ หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 11.00 น.
- จัดแสดงกระทงเล็ก พนมหมาก พนมดอกไม้ ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 16.00 น.
- การแสดงหมากรุกไทย( คน )โดยใช้นักแสดงจากนาฎศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง
เวลา 17.00 น.
- การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี และบริเวณวัดตระพังเงิน
เวลา 18.00 น. - กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ
เวลา 19.00 น.
- ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ณ บริเวณหน้าเทศบาลเมืองสุโขทัย
เวลา 19.30 น. - การแสดงประกอบแสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ
เวลา 20.00 น. - การแสดงนาฎศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง
เวลา 21.00 น. - การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
เวลา 22.30 น. - การแสดงตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ณ บริเวณสระน้ำตระพังตระกวน
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ( วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 )
กิจกรรม
เวลา 05.30 น.
- พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
- ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
- พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
เวลา 08.00 น.
- กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระประทีป กระทงพระราชทานแห่รอบเมืองสุโขทัยธานี
เวลา10.00 น.
- ประกวดการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ ด้านหลังวัดชนะสงคราม ( รอบชิงชนะเลิศ )
- การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 13.45 น.
- ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ขบวนแห่ประเพณี วัฒนธรรม 9 อำเภอ กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประธานต้อนรับขบวนแห่พระประทีปฯ ณ บริเวณตระพังตาล
เวลา 16.00 น.
- การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง
เวลา 17.00 น.
- การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณข้างสระน้ำตระพังตาล
เวลา 17.30 น.
- ประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดกระทงใหญ่ กระทงเล็กโคมชักโคมแขวนพนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทย นางนพมาศ และหนูน้อยนพมาศและ ผู้ชนะการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณเวทีกลางหมู่บ้าน วัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม
เวลา 18.00 น. - กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ
เวลา 19.30 น. - การแสดงประกอบแสง-เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ ( รอบแรก )
เวลา 20.00 น. - การแสดงนาฎศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง
เวลา 20.30 น. - กิจกรรมอาบน้ำเพ็งในวันสิ้นวสันตฤดู ณ บริเวณปริมณฑล
เวลา 21.00 น.
- การแสดงประกอบแสง - เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ ( รอบที่ 2 )
- การเล่นสักวา ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตะกวน)
เวลา 21.30 น.
- พิธีเผาเทียนเล่นไฟ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโดยเชิญประธานจุดตะคันใหญ่
เวลา 22.00 น. -กิจกรรมตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เวลา 23.00 น.
- พิธีอัญเชิญพระประทีปและ กระทงพระราชทาน ลงลอยเป็นปฐมฤกษ์ ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี ( ตระพังตระกวน ) โดยประธานในพิธี
- การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี ( ตระพังตะกวน )
เชียงใหม่
"ประเพณียี่เป็ง"
เป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็ คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต
กำหนดการจัดงาน: วันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน: ทั่วเมืองเชียงใหม่ ณ ช่วงประตูท่าแพ, หน้าสำนักงานเทศบาล จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรม: การจุดผางประทีป การปล่อยโคมลอย การประกวดขบวนแห่โคมยี่เป็ง การประกวดหนูน้อนนพมาศ การแสดงศิลปวัฒนธรรม การจัดกิจกรรม “มหกรรมแห่งสายน้ำ สีสันสายน้ำปิง”
31 ตุลาคม 2552
17.00 – 23.00 น.
การแสดงสินค้าหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขิน ถนนวัวลาย
18.00 – 24.00น.
การประกวดร้องเพลงไทยเพลงลูกทุ่ง และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน หน้าสำนักงานเทศบาล
1 พฤศจิกายน 2552
17.00 – 23.00 น.
การแสดงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา ถนนคนเดิน ถนนราชดำเนิน
18.00 – 19.00 น.
พิธีเปิดงาน “ประเพณีเดือนยี่เป็ง ประจำปี 2552” ข่วงประตูท่าแพ
18.00 – 22.00 น.
ขบวนแห่โคมยี่เป็ง ครั้งที่ 18 ย่านไนท์บาซาร์ ข่วงประตูท่าแพ – ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าร์
18.00 – 24.00 น.
การประกวดหนูน้อยยี่เป็ง หน้าสำนักงานเทศบาล
1 - 2 พฤศจิกายน 2552
18.00 – 24.00 น.
การประกวดเทพียี่เป็งเชียงใหม่ ข่วงประตูท่าแพ
1 - 3 พฤศจิกายน 2552
ตลอดทั้งวัน
การจัดซุ้มประตูป่า วัดในเมืองเชียงใหม่
09.00 – 21.00 น.
นิทรรศการ “สืบสานตำนานโคมยี่เป็งล้านนา” วัดอินทขิล
09.00 – 22.00 น.
วัฒนธรรมชนเผ่า 6 เผ่า, ชมเขาวงกต,เทศน์มหาชาติ วัดเจ็ดสิน
ประเพณีตั้งธรรมหลวง, ตามขันข้าว, แข่งขันโคมไฟลอดบ่วง วัดโลกโมฬี
10.00 – 23.00 น.
สืบฮีต สานฮอย ฮอมปอย ไหว้สาพระสิริมังคลายี่เป็ง พุทธสถานเชียงใหม่
18.00 – 24.00 น.
การจัดลานโคมยี่เป็งล้านนาเทิดพระเกียรติฯ ข่วงประตูท่าแพ
18.00 – 22.00 น.
“ประทีปเบิกฟ้า ยี่เป็งล้านนาเชียงใหม่" ประตูช้างเผือก – ประตูเชียงใหม่
18.00 – 24.00 น.
การประกวดกระทงลอยน้ำ และกระทง VIP ลำน้ำปิงหน้าเทศบาล – สะพานนวรัฐ
20.00 – 22.00 น.
การแสดงแสง สี เสียง กลางลำน้ำปิง หน้าสำนักงานเทศบาล
2 พฤศจิกายน 2552
08.00 – 10.30 น.
พิธีบวงสรวงศาลพระภูมิ, เจดีย์ขาว,ขอขมาแม่น้ำปิง หน้าเทศบาล, ท่าน้ำศรีโขง
09.00 – 12.00 น.
การประกวดโคมลอย และโคมลอยยักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาล
09.00 – 17.00 น.
การประกวดกระทงฝีมือใบตอง ดอกไม้สด หน้าสำนักงานเทศบาล
09.00 – 17.00 น.
การแข่งขันกีฬาทางน้ำ ถ่อแพ, ดำน้ำ, พายกาละมัง ลำน้ำปิงหน้าสำนักงานเทศบาล
18.00 – 23.00 น.
การประกวดขบวนแห่กระทงเล็ก ข่วงประตูท่าแพ – หน้าเทศบาล
2 - 3 พฤศจิกายน 2552
19.00 – 24.00 น.
การจุดพลุ ถวายเป็นพุทธบูชา แพกลางน้ำหน้าเทศบาล
19.00 – 24.00 น.
การปล่อยกระทงสายสืบสานล้านนา ลำน้ำปิงหน้าสำนักงานเทศบาล
3 พฤศจิกายน 2552
18.00 – 24.00 น.
การประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานฯ ข่วงประตูท่าแพ – หน้าสำนักงานเทศบาล
18.00 – 23.00 น.
“อนุรักษ์วัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นประเพณียี่เป็ง” วัดเมืองสาต
ตาก
"ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง"
เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาว จังหวัดตาก มีเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากที่อื่น ๆ คือ การใช้กะลามะพร้าวเป็นองค์ประกอบหลักของกระทง ด้วยเหตุที่ชาวจังหวัดตากนิยมประทาน "เมี่ยง" เป็นอาหารว่าง และผลิตเป็นสินค้าพื้นเมืองที่สำคัญ ทำให้ต้องใช้เนื้อมะพร้าวเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นไส้เมี่ยง และมีกะลาเป็นส่วนที่เหลือใช้ ครั้นเมื่อถึงเทศกาลลอยกระทง ชาวบ้านก็จะนำกะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็นกระทง แล้วจุดไฟปล่อยให้ ลอยไหลเป็นสายไปตามความคดโค้งของร่องน้ำปิง กลายเป็นสายประทีปนับพันดวงทอดยาวไปในลำน้ำ นับเป็นภาพตระการตาหาชมได้ยากยิ่ง
ประเพณีบูชาสายน้ำในประเพณีลอย กระทงของชุมชนลุ่มน้ำปิง - วัง แห่งเมืองตาก ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นๆ และเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “ "ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง" นั้น สำหรับปี 2552 นี้ จังหวัดตาก จะจัดให้มีกิจกรรมดีๆ ให้ผู้มาเยือนได้ชื่นชมมากและนานกว่าทุกๆ ปี
กำหนดการจัดงาน: วันที่ 31 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน: ริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดตาก
กิจกรรม: การประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การจัดลอยพระประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดขบวนแห่กระทงพระราชทาน และพระประทีปพระราชทาน การจัดตกแต่งประดับไฟบริเวณงาน การจัดแสดงแสง เสียง พลุ และดอกไม้ไฟ การจัดแสดงม่านน้ำ ชุด ตำนานกระทงสาย การจัดลอยกระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
วันที่ 31 ตุลาคม 2552
ชมขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระประทีป ถ้วยพระราชทานฯ ขบวนแห่กระทง 15 สายและพิธีเปิดอันยิ่งใหญ่
วันที่1 - 4 พฤศจิกายน 2552
ชมแข่งขันการลอยกระทงสาย ชิงถ้วยพระราชทานฯ
พระนครศรีอยุธยา
"ลอยกระทงตามประทีป" (ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ)
ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุว่ามี "พระราชพิธีชักโคม ลอยพระประทีป" ซึ่งได้ว่างเว้นไปในคราวเสียกรุง เหลือแต่เพียงประเพณีของราษฎร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้น และจำลองพระราชพิธีดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับบรรยากาศของราชสำนัก ซึ่งนับเป็นงานลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งของประเทศ
กำหนดการจัดงาน: วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน: ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรม: การประกวดกระทง และโคมแขวน การประกวดนางนพมาศ การแสดง แสง-เสียง และสื่อผสม การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค และมหรสพต่างๆ
สงขลา
"การแสดงโคมไฟเฉลิมพระเกียรติ สีสันเมืองใต้"
กำหนดการจัดงาน: วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 - 28 กุมภาพันธ์ 2553
สถานที่จัดงาน: ณ สวนสาธารณะบึงศรีภูวนารถ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีนี้ประเทศไทยได้รับความร่วมมือกับเมืองฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดแสดงโคมไฟน้ำแข็ง ที่มีอุณหภูมิติดลบถึง 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ลงทุนสร้างอาคารสูง 7 เมตร มีพื้นที่ใช้สอย 1,000 ตารางเมตร เพื่อจัดแสดงประติมากรรมน้ำแข็งนี้โดยเฉพาะ และร่วมฉลอง 35 ปีความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนอีกด้วย โดยจะเปิดให้เข้าชมในวันที่ 5 ธันวาคม เป็นต้นไป นอกจากนี้จีนยังส่งคณะการแสดงศิลปวัฒนธรรมหลากหลาย จาก 10 มณฑลใหญ่เข้าร่วมงาน ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553
ภายในงานเทศกาลโคมไฟ สีสันเมืองใต้ จะพบกับความมหัศจรรย์ของโคมไฟ 9 ชนิด คือ
1.โคมไฟน้ำแข็ง
2.โคมไฟ 14 จังหวัด สีสันเมืองใต้ โดยอยู่ในรูปแบบโคมไฟผลไม้ โคมไฟสัตว์
3.โคมไฟ 4 ภาค ประกอบไปด้วย ภาคเหนือ โคมไฟมอม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง ภาคกลาง โคมไฟช้างเอราวัณ 3 เศียร แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมือง ภาคอีสาน โคมไฟพญานาค แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ภาคใต้ โคมไฟกินรี แสดงถึงผู้ที่มีบุญวาสนา
4.โคมไฟจินตนาการโลกของเด็ก เป็นการเปิดโลกจินตนาการของเด็ก
5.โคมไฟนานาชาติ เป็นโคมไฟสื่อถึงเอกลักษณ์ “ดอกไม้ประจำชาติ” จาก 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศ ญี่ปุ่น อินเดีย เวียดนาม ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเกาหลี
6.โคมไฟโลกของสัตว์ ที่อยู่ในโซนทวีปต่างๆ
7.โคมไฟกลางน้ำ ที่แสดงถึง“สัตว์มงคลแห่งเทพนิยายทั่วโลก”
8.โคมไฟไฮไลต์ เป็นการจำลองเทศกาลต่างๆ ของประเทศไทย และ
9. โคมไฟร่วมสมัย ซึ่งเปิดโอกาสให้ห้างร้าน ภาคธุรกิจเอกชนได้ประกวดโคมไฟแบรนด์สินค้าต่างๆ
ดีมากค่ะ ฉันชอบประเพนีลอยกระทงมาก
ตอบลบ