พระธาตุพนม พระธาตุคู่เมืองของชาวนครพนม เป็นพระธาตุของคนเกิดปีวอก และพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์ งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
วัดสองคอน โบสถ์คาทอลิกที่สวยงามของจังหวัดนครพนม ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ตั้งอยู่บนถนนชยางกูร (มุกดาหาร-ดอนตาล) สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสครองราชย์ ครบ 50 ปี หอแก้วมุกดาหารเป็นหอสูง ลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงเก้าเหลี่ยม
- ชั้น 1 จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตของชาวมุกดาหาร
- ชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองมุกดาหาร วัตถุโบราณ ภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเครื่องแต่งกายชาวไทยพื้นเมืองมุกดาหาร 8 เผ่า
- ชั้น 6 สามารถชมทัศนียภาพรอบตัวเมือง แม่น้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่างสวยงาม
- ชั้น 7 เป็นหอพระประดิษฐานพระพุทธรูปนวมิ่งมงคลมุกดาหารและพระประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน
ตลาดอินโดจีน แหล่งช้อปปิ้งใจกลางเมืองมุกดาหาร ติดริมแม่น้ำโขง นานาสินค้าราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาให้นักท่องเที่ยวได้ เลือกซื้อ มีตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง อาหารการกิน ของที่ระลึกต่าง ๆ มากมาย บรรยากาศของตลาดอินโดจีนจะคึกคักตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยเฉพาะถ้าเป็นวันหยุด เสาร์-อาทิตย์
หาดทรายทองแห่งลำน้ำโขง แม่โขง มหานทีที่กำเนิดจากแดนหลังคาโลก เดินทางยาวไกล ให้ชีวิต และเรื่องราวหลากหลาย ในวิถีแห่งสายน้ำท่วมท้น ล้นฝั่งไหลหลั่งรุนแรงยามฤดูฝน ใครจะเชื่อว่าเมื่อฤดูแล้ง สายน้ำหลากไหลจะลดลง จนเกิดหาดทรายมากมายสองฝั่ง หนึ่งเดียวในนั้น หาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์งดงามด้วย ลอนทรายมากมายคล้ายอยู่ริมทะเล สันดอนทรายจะปรากฏให้เห็นในฤดูแล้งของทุกปีระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน เดินทางมาชม ได้ที่หน้าเมืองนครพนม ช่วงเวลาที่สวยงามที่สุด คือเวลาเช้าที่พระอาทิตย์ขึ้นเหนือลำน้ำโขง จนถึงเวลาก่อน ๐๙.๐๐ น.
พระธาตุเรณู แต่เดิมเป็นเรณูนคร ถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนัก ท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย
วัดนักบุญอันนา หนองแสง ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม คุณพ่อเอดัวร์ นำลาภอธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนา หนองแสง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 วัดนี้เป็นสัญลักษณ์ ของเมืองนานาชาติ ที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่และเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าชมอย่างยิ่ง
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงภายในตัวอำเภอเมืองนครพนม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๐ พร้อมๆกับการสร้างเมืองนครพนมโดยพระมหาอำมาตย์ป้อม แม่ทัพใหญ่จากเมืองเวียงจันทน์เป็นผู้ควบคุมการสร้าง สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ พระธาตุนคร ลักษณะขององค์พระธาตุมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูงประมาณ๒๔เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ถือเป็นปูชนียสถานที่เคารพสักการะของชาวนครพนม นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถเก่าแก่สถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่งดงาม
บ้านนาจอก (บ้านลุงโฮ) เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ โดยส่วนมากจะเป็นชาวญวน หรือชาวเวีดนามซึ่งในอดีดท่านโฮจิมินท์เคยมาลี้ภัยที่นี่ในสมัยสงครามอินโด จีน ซึ่งท่านจะอาศัยในบ้านหลังเล็ก ๆ บริเวนท้ายหมู่บ้าน ปัจจุบันบ้านหลังนี้ยังคงรักษาไว้ดังเช่นเดิม
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ โดยทั่วไปเป็นกลุ่มหินรูปทรงหลายแบบวางซ้อนทับกันคล้ายกับลักษณะเพิงผาที่ กันแดดกันลมได้ ในแต่ละฤดูจะมีดอกไม้ผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตามฤดูกาล เพิ่มความงามให้กับภูผาเทิบอีกมากในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี บนลานมุจลินจ์ ซึ่งเป็นลานหินเรียบทอดยาวกว้างไกลต่อจากกลุ่มหินเทิบของอุทยานแห่งชาติภูผา เทิบ กลุ่มดอกหญ้าของสังคมพืชขนาดเล็ก เช่น สร้อยสุวรรณา หยาดน้ำค้าง หนาวเดือนห้า ดาวรวมดวงและที่สวยเด่นที่สุดคือดอกดุสิตตา ดอกไม้ขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นสีม่วงและสีน้ำเงินสด มีกลิ่นหอม จะบานสะพรั่งไปทั่วทั้งทุ่งเป็นลานกว้าง ในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุดในประเทศไทย เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนนับถือศานาคริสต์ ในอดีตประมาณปี พ.ศ.2427 ประชากรชาวท่าแร่เป็นคริตชน อพยพมาจากประเทศเวียตนามประมาณ 40 คน อาศัยอยู่ในตัวเมืองสกลนคร และมีบาทหลวงเกโก(มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศส) เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ แต่เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขี้น กอปรกับมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน จึงได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านท่าแร่ ซี่งเต็มไปด้วยป่าไม้มีหินลูกรังทั่วไป และคนพื้นเมืองเรียก "หินแฮ่" และยังเป็นที่ตั้งของอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง หรือสำนักมิสซังท่าแร่ฯ หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทาง ในถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น